สรุปผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม ตามนโยบายการพัฒนาอาชีวศึกษา
4 พัฒนาระบบการเทียบระดับการศึกษาและคลังหน่วยกิตอาชีวศึกษา (Credit Bank)
ที่ ประเด็นการพัฒนา โครงการ/กิจกรรม รายละเอียดกิจกรรม ผลการดำเนินงาน หลักฐานประกอบ
1 พัฒนาและปรับปรุงหลักสูตร ปวช./ปวส./ป.ตรี
1. ร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อการพัฒนาหลักสูตร และบทเรียนออนไลน์ หมวดสมรรถนะวิชาชีพ ภายใต้โครงการความร่วมมืออาชีวศึกษาไทย - จีน 210 สาขา
กาญจนาภิเษกวิทยาลัย ช่างทองหลวง
โดยระหว่างวันที่ 18 - 19 มกราคม 2567 นายคมศิษฐ์ มีสัจจานนธนกุล ผู้อำนวยการกาญจนาภิเษกวิทยาลัย ช่างทองหลวง มอบหมาย นางประภาพรรณ ประเสริฐศรี หัวหน้าแผนกวิชาเครื่องประดับอัญมณี นางสาวกาญจนาพร จู๊ดทรัพย์ ครูภาษาจีน เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อการพัฒนาหลักสูตร และบทเรียนออนไลน์ หมวดสมรรถนะวิชาชีพ ภายใต้โครงการความร่วมมืออาชีวศึกษาไทย - จีน 210 สาขา เพื่อพัฒนาหลักสูตรและสื่อดิจิทัลด้านภาษา และอาชีพนำร่องระยะที่ 1 เป็นหลักสูตรการฝึกอบรมให้กับครู และนักศึกษาอาชีวศึกษา เรียนร่วมระหว่างอาชีวศึกษาไทย - จีน (ทวิวุฒิ) ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้น (ปวช.) ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) และระดับปริญญาตรี เพื่อให้ได้วุฒิการศึกษาจากประเทศไทย 1 ใบ และ 1 ใบรับรอง (Skill Certificate) ร่วมกับสาธารณรัฐประชาชนจีน ยกระดับคุณภาพผู้เรียน เพื่อการผลิตและพัฒนากำลังคนสมรรถนะสูงของทั้ง 2 ประเทศ ให้ผู้เรียน “เรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา” (Anywhere Anytime) ด้วยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ????ณ สำนักพัฒนาสมรรถะครูและบุคลากรอาชีวศึกษา พัฒนาหลักสูตรและสื่อดิจิทัลด้านภาษา และอาชีพนำร่องระยะที่ 1 เป็นหลักสูตรการฝึกอบรมให้กับครู และนักศึกษาอาชีวศึกษา เรียนร่วมระหว่างอาชีวศึกษาไทย - จีน (ทวิวุฒิ) ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้น (ปวช.) ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) และระดับปริญญาตรี ลิงค์
2. โครงการแนะแนวการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีรูปแบบการเรียนรู้คู่การทำงาน On The Job Learning ประจำปีการศึกษา 2566
วิทยาลัยอาชีวศึกษาเสาวภา
เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนที่ขาดโอกาสทางการศึกษาได้มีโอกาสเข้าถึงการศึกษาสาบอาชีพรูปแบบการเรียนรู้คู่การทำงานโรงเรียนขยายโอกาสสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต1 เขต2 และเขต3 นักเรียนชั้นม.3และม.6ในโรงเรียนมัธยมได้รับข้อมูลหลักสูตรการศึกษาต่อในระดับปวช.และปวส.สาขาวิชาอาหารและโภชนาการรูปแบบการเรียนรุ้คู่การทำงานn The Job Learning ลิงค์
3. วิทยาลัยเทคนิคดุสิตร่วมกับภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จัด ประชุมและร่วมลงนามความร่วมมือ (MOU)
วิทยาลัยเทคนิคดุสิต
วันพฤหัสบดีที่ 12 ตุลาคม 2566 วิทยาลัยเทคนิคดุสิตร่วมกับภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จัด ประชุมและร่วมลงนามความร่วมมือ (MOU) ทางวิชาการ ชี้แจงแนวคิดและการดำเนิน งานการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ระหว่างเรียน ของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 เพื่อเป็นการพัฒนา นักศึกษาในหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิตฯ ให้เป็นครูช่างที่มีความรู้ความสามารถ สอดคล้องกับบริบทของอาชีวศึกษา วิทยาลัยเทคนิคดุสิตร่วมกับภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จัดประชุมและร่วมลงนามความร่วมมือ (MOU) ลิงค์
4. วิทยาลัยเทคนิคดุสิต พร้อมด้วยคณะผู้บริหารและครู เข้าร่วมลงนาม บันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU)
วิทยาลัยเทคนิคดุสิต
วันที่ 2 พฤศจิกายน 2566 นายจักรินทร์ ดำรักษ์ ผู้อำนวยการ วิทยาลัยเทคนิคดุสิต พร้อมด้วยคณะผู้บริหารและครู เข้าร่วมลงนาม บันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ภายใต้โครงการ Open House คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้ารนบุรี โดยมีกระบวนการจัดการเรียนรู้และพัฒนา นักศึกษาร่วมกับสถานศึกษาผ่านการเรียนรู้และฝึกปฏิบัติ ประสบการณ์ วิชาชีพครู ณ อาคารพระจอมเกล้าราชานุสรณ์ 190 ปี มหาวิยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี วิทยาลัยเทคนิคดุสิต พร้อมด้วยคณะผู้บริหารและครู เข้าร่วมลงนาม บันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ได้พัฒนาและปรับปรุงหลักสูตร ปวช. ปวส. ป.ตรี ลิงค์
5. โครงการประชุมเตรียมความพร้อม การฝึกอบรมระยะสั้นณ สาธารณรัฐประชาชนจีน
วิทยาลัยเทคนิคดุสิต
ประชุมเตรียมความพร้อม การฝึกอบรมระยะสั้นณ สาธารณรัฐประชาชนจีน วันศุกร์ที่ 24 พฤศจิกายน 2566 นายจักรินทร์ ดำรักษ์ ผู้อำนวยการวิทยาลัย เกคนิคดุสิต พร้อมด้วยคณะผู้บริหารและคณะครู วิทยาลัยเทคนิคดุสิต จัดประชุมเตรียมความพร้อมการฝึกอบรมและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม "ภาษา จีนและทักษะวิชาชีพ" โดยความร่วมมือระหว่างวิทยาลัยเทคนิคดุสิตและ วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเศรษฐศาสตร์และการค้ากุ้ยโจว (Guizhou Vocational College of Economics ) ระหว่าง วันที่ 10 -24 ธันวาคม 2566 ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นการเตรียมความพร้อมการฝึกอบรมและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม "ภาษา จีนและทักษะวิชาชีพ" ลิงค์
6. ประชุมชี้แจ้งการจัดทำหลักสูตร ปวช. ปวส. ป.ตรี
วิทยาลัยการอาชีพกาญจนาภิเษกหนองจอก
ประชุมชี้แจ้งการจัดทำหลักสูตร ปวช. ปวส. ป.ตรี ประชุมชี้แจ้งการจัดทำหลักสูตร ปวช. ปวส. ป.ตรี เรื่องการใช้หลักสูตรในการจัดการเรียนการสอน ลิงค์
7. ไม่มีการดำเนินงาน เนื่องจากไม่อยู่ในสถาบีน
วิทยาลัยศิลปหัตถกรรมกรุงเทพ
ไม่มีการดำเนินงาน ไม่มีการดำเนินงาน ลิงค์
8. ส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิตหรือสายปฏิบัติการ
วิทยาลัยพณิชยการบางนา
สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร จัดการฝึกซ้อมพิธีมอบปริญญาบัตร ผู้สำเร็จการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2566 วันอาทิตย์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 ณ หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ วิทยาลัยพณิชยการบางนา มีผู้สำเร็จการศึกษาประจำปีการศึกษา 2566 จำนวนทั้งสิ้น 248 คน โดย จ่าสิบเอก ดร.สมพร ชูทอง ผู้อำนวยการสถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร เป็นประธานการฝึกซ้อม ในวันนี้มีผู้บริหาร ครู อาจารย์ จากวิทยาลัยในสังกัดสถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร ร่วมแสดงความยินดีกับบัณฑิต และคณะครูให้การฝึกซ้อม ตามวิธีการการฝึกซ้อมการรับปริญญาบัตรอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ ขอขอบคุณคณะผู้บริหาร ครู อาจารย์ จากวิทยาลัยในสังกัดสถาบันฯ วิทยาลัยอาชีวศึกษาธนบุรี ที่ให้ความอนุเคราะห์ช่างภาพ และวิทยาลัยพณิชยการบางนา ที่ให้ความอนุเคราะห์บุคลากรและสถานที่ ในการจัดการฝึกซ้อมในวันนี้ การจัดการเรียนการสอนหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิตหรือสายปฏิบัติการ 4 สาขาวิชา คือ การบัญชี การโรงแรม การจัดการโลจิสติกส์ และเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ธุรกิจดิจิทัล ลิงค์
9. โครงการขับเคลื่อนศูนย์บริหารเครือข่ายการผลิตและพัฒนากำลังอาชีวศึกษา (CVM)
วิทยาลัยพณิชยการบางนา
เพื่อประชุมชี้แจงแนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินงานศูนย์บริหารเครือข่ายการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา (CVM) สาขาธุรกิจค้าปลีกในรูปแบบออนไลน์ ผู้ร่วมประชุม ครูอาชีวศึกษา สาขาธุรกิจค้าปลีก จากสถานศึกษา จำนวน 56 แห่ง 122 คน ลิงค์
10. ประชุมคณะอนุกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา (อ.กรอ.อศ.) กลุ่มอาชีพธุรกิจค้าปลีก
วิทยาลัยพณิชยการบางนา
นพฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม 2567 วิทยาลัยพณิชยการบางนา ดำเนินการประชุมคณะอนุกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา (อ.กรอ.อศ.) กลุ่มอาชีพธุรกิจค้าปลีก ครั้งที่ 1/2567 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โดยมี ดร. ฉัตรชัย ตวงรัตนพันธ์ รองประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย ประธานอนุกรรมการ อ.กรอ.อศ. กลุ่มอาชีพธุรกิจค้าปลีก เป็นประธานการประชุม ดร. รุ่งนภา ปุณยานุเดช ผู้อำนวยการวิทยาลัยพณิชยการบางนา อนุกรรมการและเลขานุการ อ.กรอ.อศ. กลุ่มอาชีพธุรกิจค้าปลีก พร้อมด้วย นางสาวอุรชา สารสรรค์ รองผู้อำนวยการ ฝ่ายวิชาการ อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ คณะผู้บริหารวิทยาลัยฯ สถานประกอบการที่เป็นอนุกรรมการ จำนวน 14 คน และครูแผนกวิชาธุรกิจค้าปลีก เข้าร่วมประชุม เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ด้วยกลไก อ.กรอ.อศ. การบริหารจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพความร่วมมือการจัดการอาชีวศึกษา และกิจกรรมตามนโยบายสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาที่สอดคล้องกับกิจกรรม/โครงการ ณ ศูนย์บริหารเครือข่ายเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา (CVM) วิทยาลัยพณิชยการบางนา รับทราบความคิดเห็นของประธานอนุกรรมการ อ.กรอ.อศ. กลุ่มอาชีพธุรกิจค้าปลีก เกี่ยวกับกลไกการขับเคลื่อนการดำเนินงานความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ระบบทวิภาคี กลุ่มอาชีพธุรกิจค้าปลีก ลิงค์
11. ส่งเสริมการศึกษาต่อเทคโนโลยีบัณฑิตหรือสายปฏิบัติการ (ทล.บ.)
วิทยาลัยพณิชยการบางนา
วันอาทิตย์ที่ 4 สิงหาคม 2567 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ ประธานองคมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์ มอบปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา จากสถาบันการอาชีวศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ประจำปีการศึกษา 2566 ในโอกาสนี้ ดร.รุ่งนภา ปุณยานุเดช ผู้อำนวยการวิทยาลัยพณิชยการบางนา ได้นำคณะผู้บริหาร และคณะครู เข้าปฏิบัติหน้าที่ฝ่ายลำเลียงปริญญาบัตร ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และร่วมแสดงความยินดีกับบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน วิทยาลัยการอาชีวศึกษาปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี กิจกรรมดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย ลิงค์
12. ส่งเสริมการเรียนหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิตหรือสายปฏิบัติการ (ทล.บ.)
วิทยาลัยพณิชยการบางนา
วันผศุกร์ ที่ 2 สิงหาคม 2567 ดร.รุ่งนภา ปุณยานุเดช ผู้อำนวยการวิทยาลัยพณิชยการบางนา นำคณะผู้บริหาร และคณะครู เข้าปฎิบัติหน้าที่ฝ่ายลำเลียงปริญญาบัตร วันฝึกซ้อมใหญ่ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร แก่ผู้สำเร็จการศึกษา จากสถาบันการอาชีวศึกษา ประจำปีการศึกษา 2566 ในโอกาสนี้นายยศพล เวณุโกเศศ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (เลขาธิการ กอศ.) มอบโอวาทแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากสถาบันการอาชีวศึกษา จำนวน 23 แห่ง รวมทั้งสิ้น 4,139 คน และมีผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งสภาสถาบันการอาชีวศึกษา อนุมัติปริญญาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จำนวน 5 ราย ณ วิทยาลัยการอาชีวศึกษาปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี มีผู้เข้ารับปริญญาบัตร ทั้งสิ้น 4,139 คน ลิงค์
13. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการแผนการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ เชื่อมโยงมาตรฐานอาชีพ ตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติเพื่อพัฒนากำลังคนสมรรถนะสูง
วิทยาลัยพณิชยการเชตุพน
1. เพื่อพัฒนาครูให้มีความรู้ และสมรรถนะด้านการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ เพื่อเชื่อมโยงแผนการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๒. เพื่อพัฒนาครูในการออกแบบและสร้างกิจกรรมการเรียนรู้ในยุคเทคโนโลยีดิจิทัลเปลี่ยนโลกและเชื่อมโยงแผนการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๑. วิทยาลัยมีครูที่มีความรู้ ความสามารถในการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ยุคดิจิทัลเปลี่ยนโลกเชื่อมโยงหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ๒. วิทยาลัยมีครูที่มีความรู้ ความสามารถในการออกแบบและสร้างกิจกรรมการเรียนรู้ยุคดิจิทัล เปลี่ยนโลก เชื่อมโยงหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ลิงค์
14. Tokyo Denki Uiversity ศึกษาดูงานและเยี่ยมชมหลักสูตรปริญญาตรีฯ
วิทยาลัยพณิชยการเชตุพน
คณะผู้แทนจากภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ Tokyo Denki Uiversity ประเทศญี่ปุ่น ในการศึกษาดูงานและเยี่ยมชมหลักสูตรปริญญาตรี เทคโนโลยี ดร.คณัสณันท์พรรณ ผลทํามีบุญ ผู้อำนวยการวิทยาลัยพณิชยการเชตุพน เป็นประธานในการต้อนรับ คณะผู้แทนจากภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ Tokyo Denki Uiversity ประเทศญี่ปุ่น ในการศึกษาดูงานและเยี่ยมชมหลักสูตรปริญญาตรี เทคโนโลยี ได้รับความอนุเคราะห์จาก นายสุรพล จิรวรเดช อดีตรองผู้อำนวยการสถาบันการ อาชีวศึกษากรุงเทพมหานครและนางสาวอมรรัตน์ กรีธาธร, ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สถาบันการ อาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร ในการเยี่ยมชมการเรียนการสอน ป.ตรีสาขาการบัญชีและการตลาด ในการศึกษาดูงานครั้งนี้ เพื่อหารือเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติในการสอน แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และสํารวจโอกาสในการทำงานระหว่างทั้งสองสถาบันการศึกษาในอนาคต โดยคณะผู้แทน 11 ท่าน ได้แก่ Mr. Noritsugu Kamata, Lecture, Tokyo Denki University Dr. Shinichi Harada, Professor, Kyoto Universtity of Education Dr. Tetsuya Yamada, Professor, Tokai Gakuen University Dr. Shigeki Tomomatsu, Assistant Professor, University of Miyazaki Dr. Hiromichi Mamorida, Assistant Professor, University of Fukui Dr. Satoshi Fukui, Professor, Kobe City College of Technology Mr. Daisuke Igawa, Engaru Town Engaru Junior High School, Teacher Mr. Golf, Student, University of Miyazaki Mr. Naomichi Masuoka, Student, University of Miyazaki ลิงค์
15. การวิพากษ์หลักสูตร หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิตฯ
วิทยาลัยพณิชยการเชตุพน
การวิพากษ์หลักสูตร หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล (ต่อเนื่อง) (หลักสูตรใหม่ 2568) ดร.คณัสฉันท์พรรณ ผลทํามีบุญ ผู้อำนวยการวิทยาลัยพณิชยการเชตุพน มอบหมายให้ ดร.สรญา เปรี้ยวประสิทธิ์ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ เป็นประธานในการวิพากษ์หลักสูตร หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล (ต่อเนื่อง) (หลักสูตรใหม่ 2568) โดยมีกรรมการเข้าร่วมการวิพากษ์หลักสูตรในครั้งนี้ อาทิ นายวรวุฒิ สายบัว ผู้แทนจาก สถานประกอบการที่ร่วมมือกับสถาบัน (สมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย) ดร.ชวลิต พากเพียรถกลผล ผู้ทรงคุณวุฒิในอาชีพ (สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย) นางสาวเบ็ญจา เนียมเกิด ผู้มีส่วนได้เสีย (ประธานชุมชนเขตราษฎร์บูรณะ) นางณัฐยา สลับสม ผู้อำนวยการอาชีวศึกษาบัณฑิต ผศ.ดร.ฉันทนา ปาปัดถา และกรรมการท่านอื่น ๆ ในรูปแบบออนไลน์ เพื่อให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2565 และเกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาระดับ ปริญญาตรีสายเทคโนโลยี หรือสายปฏิบัติการ พ.ศ. 2567 ณ ห้องประชุมแก้วเจ้าจอม วิทยาลัยพณิชยการเชตุพน ลิงค์
16. โครงการพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะหรือรายวิชา
วิทยาลัยพณิชยการเชตุพน
1. เพื่อให้ครูสำรองข้อมูลความต้องการในการพัฒนาสมรรถนะหรือรายวิชา 2. เพื่อให้ครูพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะหรือรายวิชา จากเอกสารที่เชื่อถือได้หรือพัฒนาร่วมกับสถานประกอบการ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3. เพื่อให้ผู้ทำรายวิชาที่พัฒนามาจัดการเรียนการสอน 4. เพื่อวิทยาลัยฯ มีหลักสูตรฐานสมรรถนะหรือรายวิชาที่พัฒนาครบทุกสาขาวิชา - วิทยาลัยฯ มีหลักสูตรฐานสมรรถนะหรือรายวิชาที่พัฒนาตามมาตรฐานการอาชีวศึกษา - ครูได้นำรายวิชาที่พัฒนาไปจัดการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ทักษะสมรรถนะตรงกับอาชีพ - ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะสมรรถนะอาชีพตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน ลิงค์
17. โครงการจัดทำแผนฝึกอาชีพร่วมกับสถานประกอบการ ประจำปีงบประมาณ 2567
วิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชูทิศ
เพื่อจัดทำแผนฝึกอาชีพร่วมกับสถานประกอบการ พัฒนาหลักสูตรและหลายวิชา ในสถานประกอบการร่วมกับสถานศึกษา มีผู้เข้าร่วมการอบรม 53 คน วันที่ 25-27 มีนาคม 2567 ลิงค์
18. วางแผนและปรับปรุงหลักสูตรการซ่อมบำรุงอากาศยาน
วิทยาลัยเทคนิคดอนเมือง
ประชุมวางแผนและปรับปรุงหลักสูตรการซ่อมบำรุงอากาศยาน วิทยาลัยเทคนิคดอนเมือง นำโดย นายพิชเชฏฐ์ สุคนธ์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคตอนเมือง พร้อมด้วยคณะดำเนินงานสถาบันฝึกอบรมนายช่างภาคพื้นดิน วิทยาลัยเทคนิคดอนเมือง ร่วมประชุมวางแผนและปรับปรุงหลักสูตรการฝึกอบรมการซ่อมบำรุงอากาศยานเชิงอนุรักษ์และเชิดชูเกียรติอากาศยานไทย ณ มูลนิธิอนุรักษ์และพัฒนาอากาศยานไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ "บริการเด่น ติดเป็น ทำได้ ใฝ่คนธรรม" ลิงค์
19. วางแผนและปรับปรุงหลักสูตรการซ่อมบำรุงอากาศยาน
วิทยาลัยเทคนิคดอนเมือง
ประชุมวางแผนและปรับปรุงหลักสูตรการซ่อมบำรุงอากาศยาน วิทยาลัยเทคนิคดอนเมือง นำโดย นายพิชเชฏฐ์ สุคนธ์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคตอนเมือง พร้อมด้วยคณะดำเนินงานสถาบันฝึกอบรมนายช่างภาคพื้นดิน วิทยาลัยเทคนิคดอนเมือง ร่วมประชุมวางแผนและปรับปรุงหลักสูตรการฝึกอบรมการซ่อมบำรุงอากาศยานเชิงอนุรักษ์และเชิดชูเกียรติอากาศยานไทย ณ มูลนิธิอนุรักษ์และพัฒนาอากาศยานไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ "บริการเด่น ติดเป็น ทำได้ ใฝ่คนธรรม" ลิงค์
20. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติ การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)
วิทยาลัยเทคนิคดอนเมือง
โครงการอบรมเชิงปฏิบัติ การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) วิทยาลัยเทคนิคดอนเมือง นำโดย นายสุริยา เผด็จศึก รองผู้อำนวยการ ฝ่ายบริหารทรัพยากร พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร คณะครูและบุคลากรทางการศึกษา เข้ารับการนิเทศ เชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ณ ห้องประชุมพญาสัตบรรณ วิทยาลัยเทคนิคดอนเมือง ลิงค์
21. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติ การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)
วิทยาลัยเทคนิคดอนเมือง
โครงการอบรมเชิงปฏิบัติ การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) วิทยาลัยเทคนิคดอนเมือง นำโดย นายสุริยา เผด็จศึก รองผู้อำนวยการ ฝ่ายบริหารทรัพยากร พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร คณะครูและบุคลากรทางการศึกษา เข้ารับการนิเทศ เชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ณ ห้องประชุมพญาสัตบรรณ วิทยาลัยเทคนิคดอนเมือง ลิงค์
22. โครงการอบรมเขียนแผนการฝึกอาชีพ และพีธีเชิดชูเกียรติครูนิเทศและสถานประกอบการประจำปีงบประมาณ 2567
วิทยาลัยพณิชยการอินทราชัย
1 เพื่อสร้างหลักสูตร แผนการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี 2 เพื่อผลิตกำลังคนอาชีวศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการ 3 เพื่อจัดอาชีวศึกษาระบบปกติและระบบทวิภาคีให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษา 4 เพื่อเชิดซูเกียรติคุณแก่ภาครัฐ ภาคเอกชน 1. สถานประกอบการ คผู้เกี่ยวข้อง มีความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษาระบบปกติและระบบทวิภาคื 2. หัวหน้าสาขาวิชาและตัวแทนจากสถานประกอบการ พบปะและแลกเปลี่ยนความรู้ ลิงค์
23. การอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพบุคลากร การพัฒนาสื่อการสอนและการจัดการเรียนรู้ตามกรอบคุณวุฒิอาชีวศึกษา
วิทยาลัยบริหารธุรกิจและการท่องเที่ยวกรุงเทพ
- อบรมการจัดการเรียนรู้ ตามกรอบคุณวุฒิอาชีวศึกษา ปี พ.ศ. 2567 - อบรมการพัฒนาสื่อการสอน AI วันพฤหัสบดีที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 ว่าที่ร้อยเอก เชาวลิต ยุทธนาวา ผู้อำนวยการ วิทยาลัยบริหารธุรกิจและการท่องเที่ยวกรุงเทพ เป็นประธานพิธีเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพบุคลากร การพัฒนาสื่อการสอนและการจัดการเรียนรู้ตามกรอบคุณวุฒิอาชีวศึกษา พร้อมด้วยนางกุลิสรา สุวรรณ รองผู้อำนวยการ ฝ่ายบริหารทรัพยากรและฝ่ายวิชาการ(1) กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ การอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพบุคลากร การพัฒนาสื่อการสอนและการจัดการเรียนรู้ตามกรอบคุณวุฒิอาชีวศึกษา ระหว่างวันที่ 2-3 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 ณ ห้องประชุมศูนย์ปฏิบัติการโรงแรม ชั้น 2 วิทยาลัยบริหารธุรกิจและการท่องเที่ยวกรุงเทพ ได้รับเกียรติจาก ดร.ธนสาร รุจิรา ตำแหน่ง ศึกษานิเทศก์ วิทยฐานะ ชำนาญการพิเศษ เป็นวิทยากร โดยมีการอบรมดังนี้ - อบรมการจัดการเรียนรู้ ตามกรอบคุณวุฒิอาชีวศึกษา ปี พ.ศ. 2567 - อบรมการพัฒนาสื่อการสอน AI โดยว่าที่ร้อยเอก เชาวลิต ยุทธนาวา ผู้อำนวยการ วิทยาลัยบริหารธุรกิจและการท่องเที่ยวกรุงเทพ มอบเกียรติบัตรให้กับผู้เข้ารับการอบรม ณ ห้องประชุมศูนย์ปฏิบัติการโรงแรม ชั้น 2 วิทยาลัยบริหารธุรกิจและการท่องเที่ยวกรุงเทพ ลิงค์
24. การพัฒนาหลักสูตร ปวช. และ ปวส.
วิทยาลัยเทคนิคราชสิทธาราม
วิทยาลัยเทคนิคราชสิทธาราม มีการพัฒนาหลักสูตรและจัดทำแผนการเรียน อย่างต่อเนื่องและเป็นขั้นตอนอย่างมีระบบ วางแผน ประสานความร่วมมือกับสถานประกอบการ ดำเนินงาน และตรวจสอบแผนการเรียนเพื่อนำไปพัฒนาหลักสูตรต่อไป มีแผนการเรียนที่เหมาะสมกับความต้องการและบริบทของสถานศึกษาเป็นอย่างดี ลิงค์
2 พัฒนาระบบการวัดผล เทียบระดับการศึกษาและประเมินผลการศึกษา
1. การเทียบโอนผลการเรียน (เป็นกิจกรรมที่ดำเนินการในลักษณะของงานประจำ)
วิทยาลัยศิลปหัตถกรรมกรุงเทพ
๑.แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานเทียบโอนผลการเรียน ๒.ดำเนินการเทียบโอนผลการเรียนตามคำร้องของผู้เรียนในแต่ละภาคเรียน อยู่ระหว่างดำเนินการ ลิงค์
2. จัดการศึกษาเพื่อคนพิการ
วิทยาลัยสารพัดช่างพระนคร
จัดกิจกรรมการเรียนการสอน บูรณาการศึกษา เตรียมความพร้อมของผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน จัดการเรียนการสอนทั้งหมด 6 รายวิชา ได้แก่ วิชาการชงการแฟสด วิชาอาหารว่าง วิชาขนมอบยอดนิยม ขนมอบเพื่ออาชีพ วิชาการประดิษฐ์ของชำร่วยและของที่ระลึก วิชาถ่ายภาพเบื้องต้น ระหว่างวันที่ 25 มกราคม 2567- 23 กุมภาพันธ์ 2567 ณ สมาคมสติปัญญา ผู้เข้าร่วมมีความรู้ ทักษะวิชาชีพไปต่อยอดในการประกอบอาชีพในอนาคต และมีความพึ่งพอใจในระดับดีมาก ลิงค์
3. พัฒนาด้านหลักสูตรสถานศึกษาตามแนวทางการจัดการเรียนการสอนเพื่อเตรียมสู่อาชีพ
วิทยาลัยสารพัดช่างพระนคร
การจัดการเรียนการสอนเพื่อเตรียมสู่อาชีพสาขาธุรกิจ สาขาการบัญชี สาขาการท่องเที่ยว-โรงแรม สาขาอาหารและเครื่องดื่ม นักเรียนมีความรู้และความเข้าใจในหลักสูตรสถานศึกษาตามแนวทางการจัดการเรียนการสอนเพื่อเตรียมสู่อาชีพ ลิงค์
4. ฝึกอบรมอาชีพประชากรเพื่อนบ้านในอาเซียนเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและสังคม
วิทยาลัยสารพัดช่างพระนคร
เป็นการถ่ายทอดความรู้ ทักษะและประสบการณ์ และเพื่อสร้างความร่วมมือกับชุมชนและประชากรในกลุ่มอาเซียน ในวันที่ 29 ตุลาคม 2566 ณ วิทยาลัยเทคนิคสมุทรสาคร ผู้เข้าร่วมมีความรู้ ทักษะ และประสบการณ์และเพื่อสร้างความร่วมมือกับชุมชนและประชากรในกลุ่มอาเซียน และมีความพึ่งพอใจในระดับดีมาก ลิงค์
5. โครงการเตรียมความพร้อมในการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านอาชีวศึกษา (V-NET)
วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี
วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรีดำเนินงานจัดการดำเนินงานจัดการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านอาชีวศึกษาระดับชาติ (V-NET) ประจำปีการศึกษา 2566 นักเรียนมีผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านอาชีวศึกษาระดับชาติ (V-NET) ประจำปีการศึกษา 2566 ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 55.08 ตามที่กำหนดไว้ ลิงค์
6. พิจารณาการเทียบโอนผลการเรียน
วิทยาลัยเทคนิคดอนเมือง
ประชุมพิจารณาการเทียบโอนผลการเรียนรู้เพื่อให้เกิดความเรียบร้อยในการจัดการเรียนการสอน และให้เป็นไปตามระเบียบโครงสร้างหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) วิทยาลัยเทคนิคดอนเมือง เข้าร่วมประชุมพิจารณาการเทียบโอนผลการเรียนรู้เพื่อให้เกิดความเรียบร้อยในการจัดการเรียนการสอน และให้เป็นไปตามระเบียบโครงสร้างหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ณ ห้องประชุมพญาสัตบรรณวิทยาลัยเทคนิคดอนเมือง ลิงค์
7. โครงการเตรียมความพร้อมและเพิ่มผลสัมฤทธิ์การทดสอบการศึกษาระดับชาติด้านอาชีวศึกษา (V-Net) ประจำปีการศึกษา 2566
วิทยาลัยพณิชยการอินทราชัย
เพื่อให้ผลการทดสอบของนักเรียน นักศึกษา ทุกคนผ่านเกณฑ์ระดับชาติ งานวัดผลและประเมินผลร่วมกับสาขาวิชาทุกวิชาของวิทยาลัยพณิชยการอินทราชัยนั้น โดยการจัดติวให้นักเรียน นักศึกษา ได้ทบทวนและเติมเต็มความรู้กลุ่มวิชาพื้นฐานและวิชาชีพ ก่อนการทดสอบและนำผลสอบการทดสอบจัดลำดับคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ในระดับต่างๆ ดังนี้ ระดับสถานศึกษา ระดับจังหวัด และระดับประเทศ 1.เพื่อทบทวนและเติมเต็มความรู้ ความสามารถของนักเรียน นักศึกษาก่อนเข้าทดสอบ 2.เพื่อตอบสนองนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 3.เพื่อจัดลำดับคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 4.เพื่อนำผลการทดสอบไปใช้ในการปรับปรุงพัฒนาการเรียนการสอนของครู อันจะส่งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่สูงขึ้น 5.เพื่อนำผลการทดสอบ V-net ประเมินคุณภาพสถานศึกษา งานประกันคุณภาพการศึกษาประกาศนียบัตรผู้สำเร็จการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2566 ลิงค์
8. กิจกรรมเตรียมความพร้อม ทบทวนความรู้ก่อนสอบ V-NET ประจำปีการศึกษา 2566
วิทยาลัยบริหารธุรกิจและการท่องเที่ยวกรุงเทพ
จกรรมเตรียมความพร้อม ทบทวนความรู้ก่อนสอบ V-NET ประจำปีการศึกษา 2566 โดยมีคณะครูที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ได้ให้คำแนะนำและ เตรียมความพร้อมในการสอบ แก่นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 3 (ปวช.3) เข้าร่วมฟังการแนะนำในครั้งนี้ คณะครูที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ได้ให้คำแนะนำและ เตรียมความพร้อมในการสอบ แก่นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 3 (ปวช.3) เข้าร่วมฟังการแนะนำในครั้งนี้ ลิงค์
9. การสอบมาตรฐานวิชาชีพ
วิทยาลัยเทคนิคราชสิทธาราม
วิทยาลัยเทคนิคราชสิทธาราม มีการพัฒนาระบบวัดผลและประเมินผลอย่างเป็นระบบ ตัวอย่างเช่นการสอบมาตรฐานวิชาชีพของแต่ละแผนกวิชา การสอบมาตรฐานวิชาชีพมีการวัดผลและประเมินผลอย่างเป็นระบบ ลิงค์
3 พัฒนาระบบคลังหน่วยกิตอาชีวศึกษา
1. ยังไม่ได้ดำเนินการ เนื่องจากรอการพัฒนาระบบของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
วิทยาลัยศิลปหัตถกรรมกรุงเทพ
ย้งไม่ได้ดำเนินการ ยังไม่ได้ดำเนินการ ลิงค์
2. จัดการศึกษาเพื่อคนพิการ
วิทยาลัยสารพัดช่างพระนคร
จัดกิจกรรมการเรียนการสอน บูรณาการศึกษา เตรียมความพร้อมของผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน จัดการเรียนการสอนทั้งหมด 6 รายวิชา ได้แก่ วิชาการชงการแฟสด วิชาอาหารว่าง วิชาขนมอบยอดนิยม ขนมอบเพื่ออาชีพ วิชาการประดิษฐ์ของชำร่วยและของที่ระลึก วิชาถ่ายภาพเบื้องต้น ระหว่างวันที่ 25 มกราคม 2567- 23 กุมภาพันธ์ 2567 ณ สมาคมสติปัญญา ผู้เข้าร่วมมีความรู้ ทักษะวิชาชีพไปต่อยอดในการประกอบอาชีพในอนาคต และมีความพึ่งพอใจในระดับดีมาก ลิงค์
3. พัฒนาด้านหลักสูตรสถานศึกษาตามแนวทางการจัดการเรียนการสอนเพื่อเตรียมสู่อาชีพ
วิทยาลัยสารพัดช่างพระนคร
การจัดการเรียนการสอนเพื่อเตรียมสู่อาชีพสาขาธุรกิจ สาขาการบัญชี สาขาการท่องเที่ยว-โรงแรม สาขาอาหารและเครื่องดื่ม นักเรียนมีความรู้และความเข้าใจในหลักสูตรสถานศึกษาตามแนวทางการจัดการเรียนการสอนเพื่อเตรียมสู่อาชีพ ลิงค์
4. ฝึกอบรมอาชีพประชากรเพื่อนบ้านในอาเซียนเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและสังคม
วิทยาลัยสารพัดช่างพระนคร
เป็นการถ่ายทอดความรู้ ทักษะและประสบการณ์ และเพื่อสร้างความร่วมมือกับชุมชนและประชากรในกลุ่มอาเซียน ในวันที่ 29 ตุลาคม 2566 ณ วิทยาลัยเทคนิคสมุทรสาคร ผู้เข้าร่วมมีความรู้ ทักษะ และประสบการณ์และเพื่อสร้างความร่วมมือกับชุมชนและประชากรในกลุ่มอาเซียน และมีความพึ่งพอใจในระดับดีมาก ลิงค์
5. ปฐมนิเทศหลักสูตรสะสมเครดิต (credit bank) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเกริก
วิทยาลัยบริหารธุรกิจและการท่องเที่ยวกรุงเทพ
วันที่ 31 ตุลาคม 2567 นางสาวอรนุช อุทานนท์ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ (3) เป็นประธานเปิดกิจกรรม ปฐมนิเทศหลักสูตรสะสมเครดิต (credit bank) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเกริก โดยมีครู และ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ชั้นปีที่ 1 แผนกวิชาการตลาด และการบัญชี เข้าร่วมกิจกรรมนี้ พร้อมด้วยอาจารย์จากมหาวิทยาลัยเกริก คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการบัญชี และ สาขาวิชาการตลาด บรรยายให้ความรู้ สร้างความเข้าใจ เกี่ยวกับหลักสูตรสะสมเครดิต (credit bank) ระหว่าง วิทยาลัยบริหารธุรกิจและการท่องเที่ยวกรุงเทพ กับ มหาวิทยาลัยเกริก ณ ห้องประชุมศูนย์ปฏิบัติการโรงแรม ชั้น 2 วิทยาลัยบริหารธุรกิจและการท่องเที่ยวกรุงเทพ นักศึกษาแผนกวิชาการบัญชี และ การตลาดระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) 1 เข้าร่วมกิจกรรมพร้อมทั้งสอบถามข้อมูลจากทางคณะอาจารย์จากมหาวิทยาลัยเกริก สำหรับการศึกษาต่อในหลักสูตรดังกล่าว ลิงค์
6. หลักสูตรสะสมเครดิต (credit bank) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเกริก
วิทยาลัยบริหารธุรกิจและการท่องเที่ยวกรุงเทพ
วันที่ 31 ตุลาคม 2567 นางสาวอรนุช อุทานนท์ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ (3) เป็นประธานเปิดกิจกรรม ปฐมนิเทศหลักสูตรสะสมเครดิต (credit bank) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเกริก โดยมีครู และ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ชั้นปีที่ 1 แผนกวิชาการตลาด และการบัญชี เข้าร่วมกิจกรรมนี้ พร้อมด้วยอาจารย์จากมหาวิทยาลัยเกริก คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการบัญชี และ สาขาวิชาการตลาด บรรยายให้ความรู้ สร้างความเข้าใจ เกี่ยวกับหลักสูตรสะสมเครดิต (credit bank) ระหว่าง วิทยาลัยบริหารธุรกิจและการท่องเที่ยวกรุงเทพ กับ มหาวิทยาลัยเกริก ณ ห้องประชุมศูนย์ปฏิบัติการโรงแรม ชั้น 2 วิทยาลัยบริหารธุรกิจและการท่องเที่ยวกรุงเทพ วันที่ 31 ตุลาคม 2567 นางสาวอรนุช อุทานนท์ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ (3) เป็นประธานเปิดกิจกรรม ปฐมนิเทศหลักสูตรสะสมเครดิต (credit bank) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเกริก โดยมีครู และ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ชั้นปีที่ 1 แผนกวิชาการตลาด และการบัญชี เข้าร่วมกิจกรรมนี้ พร้อมด้วยอาจารย์จากมหาวิทยาลัยเกริก คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการบัญชี และ สาขาวิชาการตลาด บรรยายให้ความรู้ สร้างความเข้าใจ เกี่ยวกับหลักสูตรสะสมเครดิต (credit bank) ระหว่าง วิทยาลัยบริหารธุรกิจและการท่องเที่ยวกรุงเทพ กับ มหาวิทยาลัยเกริก ณ ห้องประชุมศูนย์ปฏิบัติการโรงแรม ชั้น 2 วิทยาลัยบริหารธุรกิจและการท่องเที่ยวกรุงเทพ ลิงค์
7. การเทียบรายวิชาจากการเรียนหลักสูตรระยะสั้น
วิทยาลัยเทคนิคราชสิทธาราม
วิทยาลัยเทคนิคราชสิทธาราม มีการเทียบรายวิชา จากการเรียนหลักสูตรระยะสั้น นำมาเป็นหน่วยกิตสะสม ใช้ในการเทียบโอนได้ นักเรียนที่ได้ผ่านการเรียนหลักสูตรระยะสั้น สามารถนำมาเทียบโอนในการศึกษาต่อในสาขาที่เรียนหลักสุตรระยะสั้นนั้นมาแล้ว ลิงค์
4 ตั้งศูนย์เทียบโอนผลการเรียนในระดับจังหวัด (77 ศูนย์)
1. ไม่มีการดำเนินการ เนื่องจากไม่ใช่ศูนย์เทียบโอนระดับจังหวัด
วิทยาลัยศิลปหัตถกรรมกรุงเทพ
ไม่ได้ดำเนินการ ไม่ได้ดำเนินการ ลิงค์
5 ส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรทวิศึกษา
1. โครงการจัดการศึกษาแบบทวิศึกษา
วิทยาลัยศิลปหัตถกรรมกรุงเทพ
๑.ประสานงานกับสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา ๒.ลงนามความร่วมมือ ๓.ขออนุมัติเปิดสอนแบบทวิศึกษา ๔.จัดประชุมร่วมกันเพื่อจัดทำแผนการเรียนตลอดหลักสูตรและแผนการเทียบโอนผลการเรียน ๔.จัดการสอนแบบทวิศึกษา ๕.เทียบโอนผลการเรียน ๖.ติดตามและประเมินผล อยู่ระหว่างดำเนินการจัดการศึกษา ลิงค์
2. กิจกรรมปฐมนิเทศนักเรียนนักศึกษาใหม่ประจำปีการศึกษา 2567
วิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษกมหานคร
กิจกรรมปฐมนิเทศนักเรียนนักศึกษาใหม่ประจำปีการศึกษา 2567 ชี้แจงความเข้าใจและเตรียมความพร้อมในการออกฝึกอาชีพ และฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ในการเสริมสร้างประสบการณ์ชิงประจักษ์ให้กับนักเรียน นักศึกษา ทั้งระบบทวิภาคีและระบบปกติ สร้างความสัมพันธ์อันดีกับสถานประกอบการต่างๆ ลิงค์
3. โครงการนวัตกรรมเทคโนโลยีธุรกิจจีน-อาเซียนและการศึกษาสายการเงิน
วิทยาลัยพณิชยการเชตุพน
คณะผู้บริหาร คณะครู แผนกวิชาเทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล แผนกวิชาการโรงแรมและการท่องเที่ยว แผนกวิชาเลขานุการ แผนกวิชาบัญชี แผนกวิชาการจัดการสำนักงาน แผนกวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิก และแผนกวิชาภาษาต่างประเทศ เดินทางเข้าร่วมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านวิชากาารและความร่วมมือในด้านการศึกษา กับวิทยาลัยอาชีวศึกษา Guangxi Financail ประเทศจีน 1. ร่วมประชุมปรึกษาหารือทำบันทึกข้อตกลงความเข้าใจระหว่างวิทยาลัยพณิชยการเชตุพน กับ วิทยาลัยอาชีวศึกษา Guangxi Financail (GFVC) หนานหนิง ประเทศจีน ลิงค์
4. เข้ารับโล่ห์เชิดชูเกียรติให้กับสถานศึกษาอาชีวะภาครัฐและเอกชน จากบริษัทไมเนอร์อินเตอร์เนชั่น จำกัด สถานศึกษาที่ให้ความร่วมมือจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีกับบริษัท ไมเนอร์อินเตอร์เนชั่นแนล จํากัด (มหาชน)
วิทยาลัยพณิชยการเชตุพน
พิธีมอบประกาศนียบัตรผู้สำเร็จการศึกษา และฝึกอาชีพระบบทวิภาคี อาชีวศึกษา-ไมเนอร์ ประจําปี 2568 วันอังคารที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2568 ดร.คณัสนันท์พรรณ ผลทํามีบุญ ผู้อำนวยการวิทยาลัยพณิชยการเชตุพน พร้อมด้วย นางนภากรณ์ ฤทธิวัชร์ ครูหัวหน้างานอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี และคณะครูแผนกวิชาการบัญชีเข้าร่วมพิธีมอบประกาศนียบัตรผู้สำเร็จการศึกษาและฝึกอาชีพระบบทวิภาคี อาชีวศึกษา-ไมเนอร์ ประจําปี 2568 โดยมี นายวิทวัด ปัญจมะวัต รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เป็นประธานกล่าวแสดงความยินดี และมอบโล่ห์เชิดชูเกียรติให้กับสถานศึกษาอาชีวะภาครัฐและเอกชน จํานวน 53 แห่ง ก็ให้ความร่วมมือจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีกับ บริษัท ไมเนอร์อินเตอร์เนชั่นแนล จํากัด (มหาชน) โดยวิทยาลัยพณิชยการเชตุพน มีนักศึกษา แผนกวิชาการจัดการธุรกิจค้าปลีก แผนกวิชาการบัญชี และแผนกวิชาการโรงแรม ที่สำเร็จการฝึกงานฝึกอาชีพระบบทวิภาคี กับบริษัท ไนเนอร์อินเตอร์เนขึ้นแนล จํากัด (มหาชน) จํานวนทั้งสิ้น 54 คน การจัดงานในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมแสดงความยินดีและชื่นชมในความขขัน ความอดทu และความทุ่มเทของนักศึกษาจนนำมาซึ่งความสำเร็จอันเป็นที่น่าภาคภูมิใจ ณ ห้องประชุมปทุมนาค วิทยาลัยการอาชีวศึกษาปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี พิธีมอบประกาศนียบัตรผู้สำเร็จการศึกษา และฝึกอาชีพระบบทวิภาคี อาชีวศึกษา-ไมเนอร์ ประจําปี 2568 วันอังคารที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2568 โดยวิทยาลัยพณิชยการเชตุพนนำนักศึกษา แผนกวิชาการจัดการธุรกิจค้าปลีก แผนกวิชาการบัญชี และแผนกวิชาการโรงแรม ที่สำเร็จการฝึกงานฝึกอาชีพระบบทวิภาคี กับบริษัท ไนเนอร์อินเตอร์เนขึ้นแนล จํากัด (มหาชน) จํานวนทั้งสิ้น 54 คน เข้ารับประกาศนียบัตร และโล่เชิดชูเกียรติสถานศึกษาจากบริษัท ไมเนอร์อินเตอร์เนชั่นแนล จํากัด (มหาชน) ภายใต้ความร่วมมือจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีกับบริษัท ไมเนอร์อินเตอร์เนชั่นแนล จํากัด (มหาชน) ณ ห้องประชุมปทุมนาค วิทยาลัยการอาชีวศึกษาปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี ลิงค์
5. โครงการนวัตกรรมเทคโนโลยีธุรกิจจีน-อาเซียนและการศึกษาสายการเงิน
วิทยาลัยพณิชยการเชตุพน
คณะผู้บริหาร คณะครู แผนกวิชาเทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล แผนกวิชาการโรงแรมและการท่องเที่ยว แผนกวิชาเลขานุการ แผนกวิชาบัญชี แผนกวิชาการจัดการสำนักงาน แผนกวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิก และแผนกวิชาภาษาต่างประเทศ เดินทางเข้าร่วมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านวิชากาารและความร่วมมือในด้านการศึกษา กับวิทยาลัยอาชีวศึกษา Guangxi Financail ประเทศจีน ร่วมประชุมปรึกษาหารือทำบันทึกข้อตกลงความเข้าใจระหว่างวิทยาลัยพณิชยการเชตุพน กับ วิทยาลัยอาชีวศึกษา Guangxi Financail (GFVC) หนานหนิง ประเทศจีน ลิงค์
6. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนการฝึกอาชีพของครูนิเทศก์ การจัดการศึกษาอาชีวศึกษาระบบปกติสู่การจัดการศึกษาระบบทวิภาคี
วิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชูทิศ
อบรมจัดทำแผนการฝึกอาชีพการจัดการศึกษาระบบทวิภาคี มีแผนฝึกอาชีพครบทุกสาขาวิชาของวิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชูทิศ ลิงค์
7. โครงการพัฒนาความร่วมมือกับสถานประกอบการ กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมปฐมนิเทศนักศึกษาระบบทวิภาคี โครงการปลูกต้นกล้า (รุ่นที่ 6) ปีการศึกษา 2567
วิทยาลัยบริหารธุรกิจและการท่องเที่ยวกรุงเทพ
เพื่อส่งเสริมหลักสูตรระบบทวิภาคี โครงการปลูกต้นกล้า (รุ่นที่ 6) ปีการศึกษา 2567 วันอังคารที่ 7 เดือนพฤษภาคม 2567 ว่าที่ร้อยเอก เชาวลิต ยุทธนาวา ผู้อำนวยการวิทยาลัยบริหารธุรกิจและการท่องเที่ยวกรุงเทพ เป็นประธานในการพัฒนาความร่วมมือกับสถานประกอบการ โดยนางกุลิสรา สุวรรณ รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารทรัพยากร และฝ่ายวิชาการ(1) กล่าวรายงานวัตถุประสงค์โครงการพัฒนาความร่วมมือกับสถานประกอบการ กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมปฐมนิเทศนักศึกษาระบบทวิภาคี โครงการปลูกต้นกล้า (รุ่นที่ 6) ปีการศึกษา 2567 ว่าที่ร้อยเอก เชาวลิต ยุทธนาวา ผู้อำนวยการวิทยาลัยบริหารธุรกิจและการท่องเที่ยวกรุงเทพ มอบทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษาให้กับนักศึกษาปลูกต้นกล้า ทุนละ 3,000 บาท รวมจำนวน 32 ทุน โดยมอบให้กับคณะทีมงานบริษัทไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) โดยมีกิจกรรม - แนะนำครูผู้สอนประจำรายวิชา และครูแผนกวิชาการตลาดทุกท่าน - นำเสนอ ขั้นตอนการจัดการเรียนการสอน ผ่าน Application Google Classroom (ครูนัจรินทร์ ภาษี) - นำเสนอ การเข้าใช้ห้องสมุดออนไลน์ (E-Book) และให้นักศึกษาทำการสมัครสมาชิกห้องสมุดออนไลน์ (โดย ครูกรกนก สุวรรณรัตน์) หัวหน้างานห้องสมุด ณ วิทยาลัยบริหารธุรกิจและการท่องเที่ยวกรุงเทพ ลิงค์
8. กิจกรรมเชิงรุกเพื่อสร้างการรับรู้ทวิภาคีโดยการทำแบบทดสอบ Pre-test และให้ระดมสมองเพื่อจัดทำกลยุทธ์การขับเคลื่อนการจัดการศึกษาระบบทวิภาคี
วิทยาลัยบริหารธุรกิจและการท่องเที่ยวกรุงเทพ
เพื่อสร้างการรับรู้ทวิภาคีโดยการทำแบบทดสอบ Pre-test และให้ระดมสมองเพื่อจัดทำกลยุทธ์การขับเคลื่อนการจัดการศึกษาระบบทวิภาคี วันที่ 21 เดือนพฤศจิกายน 2566 ว่าที่ร้อยเอกเชาวลิต ยุทธนาวา ผู้อำนวยการวิทยาลัยบริหารธุรกิจและการท่องเที่ยวกรุงเทพ มอบหมายให้นางกุลิสรา สุวรรณ รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารทรัพยากร และฝ่ายวิชาการ เป็นคณะทำงานศูนย์อาชีวศึกษาทวิภาคีและเป็นวิทยากรให้ความรู้และสร้างการรับรู้สื่อสารนโยบายการขับเคลื่อนทวิภาคี สู่การปฏิบัติในสถานศึกษา เน้นย้ำ กระตุ้น ให้ตระหนักถึงการจัดทวิภาคี และมีกิจกรรมเชิงรุกเพื่อสร้างการรับรู้ทวิภาคีโดยการทำแบบทดสอบ Pre-test และให้ระดมสมองเพื่อจัดทำกลยุทธ์การขับเคลื่อนการจัดการศึกษาระบบทวิภาคี ณ โรงแรมเดอะรีเจนท์ ชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ลิงค์
9. หลักสูตรและพัฒนาหลักสูตรร่วมกับสถานประกอบการ
วิทยาลัยบริหารธุรกิจและการท่องเที่ยวกรุงเทพ
งานหลักสูตรและทวิภาคี ฝ่ายวิชาการ ได้จัดทำหลักสูตรและพัฒนาหลักสูตรร่วมกับสถานประกอบการ ภายในงานสถานประกอบการได้ร่วมปรึกษาและพูดคุยกับครูในแต่ละแผนกวิชาถึงความต้องการของแรงงานร่วมถึงการพัฒนาหลักสูตร ให้สอดคล้องกับความต้องการของแรงงานในยุคปัจจุบัน จัดทำหลักสูตรและพัฒนาหลักสูตรร่วมกับสถานประกอบการ ภายในงานสถานประกอบการได้ร่วมปรึกษาและพูดคุยกับครูในแต่ละแผนกวิชาถึงความต้องการของแรงงาน ลิงค์
10. จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาแผนฝึกอาชีพบูรณาการร่วมกับการทำงานสู่การมีงานทำ ประจำปีการศึกษา 2567
วิทยาลัยบริหารธุรกิจและการท่องเที่ยวกรุงเทพ
งานอาชีวศึกษาทวิภาคี วิทยาลัยบริหารธุรกิจและการท่องเที่ยวกรุงเทพ จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาแผนฝึกอาชีพบูรณาการร่วมกับการทำงานสู่การมีงานทำ ประจำปีการศึกษา 2567 โดยมี ว่าที่ร้อยเอก เชาวลิต ยุทธนาวา ผู้อำนวยการการวิทยาลัยบริหารธุรกิจและการท่องเที่ยวกรุงเทพ กล่าววัตถุประสงค์การจัดกิจกรรม และ ว่าที่พันตรี วัชรพล ลักษณลม้าย ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคฉะเชิงเทรา ปฏิบัติหน้าที่ ผู้อำนวยการศูนย์อาชีวศึกษาทวิภาคี เป็นประธานเปิด โครงการ “การพัฒนาแผนฝึกอาชีพบูรณาการร่วมกับการทำงานสู่การมีงานทำ ประจำปีการศึกษา 2567” มีผู้เข้าร่วมโครงการฯ จำนวนทั้งสิ้น 65 คน ทั้งนี้ได้รับเกียรติจาก นางกุลิสรา สุวรรณ รองผู้อำนวยการวิทยาลัยบริหารธุรกิจและการท่องเที่ยวกรุงเทพฯ เป็นวิทยากร “การพัฒนาแผนฝึกอาชีพบูรณาการร่วมกับการทำงานสู่การมีงานทำ ประจำปีการศึกษา 2567” มีผู้เข้าร่วมโครงการฯ จำนวนทั้งสิ้น 65 คน ทั้งนี้ได้รับเกียรติจาก นางกุลิสรา สุวรรณ รองผู้อำนวยการวิทยาลัยบริหารธุรกิจและการท่องเที่ยวกรุงเทพฯ เป็นวิทยากร ลิงค์
11. อบรมเชิงปฏิบัติการจัดทำบทเรียนออนไลน์การเตรียมความพร้อมผู้เรียนทวิภาคีก่อนออกฝึกอาชีพ (DVE Intelligent Center)
วิทยาลัยบริหารธุรกิจและการท่องเที่ยวกรุงเทพ
ตรวจเยี่ยมกิจกรรม การบรรณาธิการกิจบทเรียนออนไลน์การเตรียมความพร้อมผู้เรียนทวิภาคีก่อนออกฝึกอาชีพ ระยะที่ 3 และได้รับเกียรติจาก นายคมศิษฐ์ มีสัจจานนธนกุล ผู้อำนวยการกาญจนาภิเษกวิทยาลัย ช่างทองหลวง นายธนสาร รุจิรา ศึกษานิเทศก์ นายสมพร บุญริน ครูวิทยาลัยเทคนิคลพบุรี และนายวสุภัทร กุลเมือง ครูวิทยาลัยเทคนิคท่าหลวงซิเมนต์ไทยอนุสรณ์ เป็นวิทยากร ในการจัดกิจกรรมครั้งนี้ จัดขึ้น ศูนย์อาชีวศึกษาทวิภาคี มอบหมายให้ งานอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี วิทยาลัยบริหารธุรกิจและการท่องเที่ยวกรุงเทพ เป็นเจ้าภาพจัดกิจกรรม "อบรมเชิงปฏิบัติการจัดทำบทเรียนออนไลน์การเตรียมความพร้อมผู้เรียนทวิภาคีก่อนออกฝึกอาชีพ (DVE Intelligent Center)" ประจำปีงบประมาณ 2567 โดยมี ว่าที่พันตรี วัชรพล ลักษณลม้าย ผู้อำนวยการศูนย์อาชีวศึกษาทวิภาคี พร้อมด้วย ว่าที่ร้อยเอก เชาวลิต ยุทธนาวา ผู้อำนวยการวิทยาลัยบริหารธุรกิจและการท่องเที่ยวกรุงเทพ ตรวจเยี่ยมกิจกรรม การบรรณาธิการกิจบทเรียนออนไลน์การเตรียมความพร้อมผู้เรียนทวิภาคีก่อนออกฝึกอาชีพ ระยะที่ 3 และได้รับเกียรติจาก นายคมศิษฐ์ มีสัจจานนธนกุล ผู้อำนวยการกาญจนาภิเษกวิทยาลัย ช่างทองหลวง นายธนสาร รุจิรา ศึกษานิเทศก์ นายสมพร บุญริน ครูวิทยาลัยเทคนิคลพบุรี และนายวสุภัทร กุลเมือง ครูวิทยาลัยเทคนิคท่าหลวงซิเมนต์ไทยอนุสรณ์ เป็นวิทยากร ในการจัดกิจกรรมครั้งนี้ จัดขึ้น ลิงค์
12. กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ การใช้งานระบบ DVE JOB TRAINING SYSTEM สำหรับผู้เรียน รองรับการบันทึกข้อมูลการฝึกอาชีพ ประจำปีการศึกษา 2567
วิทยาลัยบริหารธุรกิจและการท่องเที่ยวกรุงเทพ
งานอาชีวศึกษาทวิภาคี วิทยาลัยบริหารธุรกิจและการท่องเที่ยวกรุงเทพ จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ การใช้งานระบบ DVE JOB TRAINING SYSTEM สำหรับผู้เรียน รองรับการบันทึกข้อมูลการฝึกอาชีพ ประจำปีการศึกษา 2567 โดยมี ว่าที่ร้อยเอก เชาวลิต ยุทธนาวา ผู้อำนวยการการวิทยาลัยบริหารธุรกิจแบะการท่องเที่ยวกรุงเทพ เป็นประธานและหัวหน้างานอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีกล่าววัตถุประสงค์การจัดกิจกรรม “การใช้งานระบบ DVE JOB TRAINING SYSTEM ประจำปีการศึกษา 2567” โดยมีนายสงกรานต์ พิบูลศักดิ์ เป็นวิทยากรให้ความรู้แก่นักเรียน นักศึกษา ในการจัดกิจกรรมครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมโครงการฯ จำนวนทั้งสิ้น 108 คน การใช้งานระบบ DVE JOB TRAINING SYSTEM ประจำปีการศึกษา 2567” โดยมีนายสงกรานต์ พิบูลศักดิ์ เป็นวิทยากรให้ความรู้แก่นักเรียน นักศึกษา ในการจัดกิจกรรมครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมโครงการฯ จำนวนทั้งสิ้น 108 คน ลิงค์
13. อบรม ครูนิเทศก์ สำหรับการใช้งานระบบ DVE Job Training System สำหรับครูนิเทศก์ ในการประเมินผู้เรียนระหว่างฝึกอาชีพในสถานประกอบการ
วิทยาลัยบริหารธุรกิจและการท่องเที่ยวกรุงเทพ
งานอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ฝ่ายวิชาการ จัดการอบรม ครูนิเทศก์ สำหรับการใช้งานระบบ DVE Job Training System สำหรับครูนิเทศก์ ในการประเมินผู้เรียนระหว่างฝึกอาชีพในสถานประกอบการ โดยมีนางกุลิสรา สุวรรณ รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารทรัพยากรและฝ่ายวิชาการ พร้อมด้วย นายสงกรานต์ พิบูลย์ศักดิ์ ครูสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ เป็นวิทยากรให้ความรู้ การใช้งานระบบให้กับครูนิเทศก์ เพื่อในการกำกับติดตามผู้เรียนฝึกในสถานประกอบการ และประเมินผลการในการฝึกอาชีพในสถานประกอบการ โดยมีครูผู้เข้าอบรมจำนวนทั้งสิ้น 40 คน นางกุลิสรา สุวรรณ รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารทรัพยากรและฝ่ายวิชาการ พร้อมด้วย นายสงกรานต์ พิบูลย์ศักดิ์ ครูสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ เป็นวิทยากรให้ความรู้ การใช้งานระบบให้กับครูนิเทศก์ เพื่อในการกำกับติดตามผู้เรียนฝึกในสถานประกอบการ และประเมินผลการในการฝึกอาชีพในสถานประกอบการ โดยมีครูผู้เข้าอบรมจำนวนทั้งสิ้น 40 คน ลิงค์
14. กิจกรรมสัมมนานักเรียน นักศึกษาจบฝึกงาน ฝึกอาชีพ ประจำภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567
วิทยาลัยบริหารธุรกิจและการท่องเที่ยวกรุงเทพ
ว่าที่ร้อยเอกเชาวลิต ยุทธนาวา ผู้อำนวยการวิทยาลัยบริหารธุรกิจและการท่องเที่ยวกรุงเทพ มอบหมายให้นางสาวอรนุช อุทานนท์ รองผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนากิจการนักเรียน นักศึกษาและฝ่ายวิชาการ(3) เป็นประธานพิธีเปิดกิจกรรมสัมมนานักเรียน นักศึกษาจบฝึกงาน ฝึกอาชีพ ประจำภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 พร้อมด้วยนางสาวกรณัฐ หูไว กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดกิจกรรม โดยภายในกิจกรรมมีการนำเสนอ สรุปการฝึกงานฝึกอาชีพ จากตัวแทนนักเรียน นักศึกษา และรับฟังความคิดเห็นจากครูนิเทศก์ เกี่ยวกับแนวทางการแก้ไขปัญหาในช่วงระยะเวลาการฝึกงาน โดยมีครูนิเทศก์และนักเรียน นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม รวมทั้งสิ้น 150 คน สรุปการฝึกงานฝึกอาชีพ จากตัวแทนนักเรียน นักศึกษา และรับฟังความคิดเห็นจากครูนิเทศก์ เกี่ยวกับแนวทางการแก้ไขปัญหาในช่วงระยะเวลาการฝึกงาน โดยมีครูนิเทศก์และนักเรียน นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม รวมทั้งสิ้น 150 คน ลิงค์
15. โครงการอบรมการผลิต Portfolio เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนออกฝึกงาน ฝึกอาชีพ
วิทยาลัยบริหารธุรกิจและการท่องเที่ยวกรุงเทพ
งานอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ฝ่ายวิชาการ จัดโครงการอบรมการผลิต Portfolio เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนออกฝึกงาน ฝึกอาชีพ โดย ว่าที่ร้อยเอก เชาวลิต ยุทธนาวา มอบหมายให้ นางสาวภัทราวรรณ วรรณบำเพ็ญ รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนงานและความร่วมมือและฝ่ายวิชาการ (2) เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรม หัวข้อการอบรมมีทั้งหมด 3 หัวข้อได้แก่ หัวข้อที่ 1 ความสำคัญของการจัดทำ Porforlio โดย นายวัชรกิติ แสงสุวรรณ วิทยากร จาก วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุรินทร์ หัวข้อที่ 2 วิธีการ และ โปรแกรมการทำ Porforlio โดย นายปิยชาติ ด่านซ้าย ครูสาขาวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิก หัวข้อที่ 3 การเข้าใช้งานระบบ EWE Platform สำหรับนักเรียนนักศึกษา เพื่อเตรียมความพร้อมสู่การมีงานทำ โดย นายสุรพงศ์ อับดุลเล๊าะ ครูสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ในการอบรมครั้งมีนักเรียน นักศึกษา ที่จะออกฝึกงาน ฝึกอาชีพ เข้าร่วมกิจกรรม จำนวนทั้งสิ้น 60 คน ลิงค์
16. การพัฒนาหลักสูตรระบบสะสมหน่วยกิต (credit bank) ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกริก
วิทยาลัยบริหารธุรกิจและการท่องเที่ยวกรุงเทพ
วันที่ 3 ตุลาคม 2567 ว่าที่ร้อยเอก ดร.เชาวลิต ยุทธนาวา ผู้อำนวยการวิทยาลัยบริหารธุรกิจและการท่องเที่ยวกรุงเทพ พร้อมด้วย นางสาวอรนุช อุทานนท์ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ เข้าร่วมรับฟังแนวทางการพัฒนาหลักสูตรระบบสะสมหน่วยกิต (credit bank) ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกริก โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิจากมหาวิทยาลัยเกริกเข้าร่วม 5 ท่าน ได้แก่ 1.อาจารย์ยิ่งศักดิ์ สิทธิยากรณ์ ผู้ช่วยรองอธิการบดีฝ่ายกิจการพิเศษ 2.อาจารย์ไพศาล อรุณโชคนำลาภ ผู้อำนวยการสำนักวิชาการ 3.ดร.สิทธปวีร์ ธนโสตถิกุลนันท์ ผู้ช่วยคณบดีคณะบริหารธุรกิจ 4.อาจารย์กวีวัธน์ ทรัพย์ประกอบ ผู้ประสานงานโครงการ 5. อาจารย์ ดร.วีด้า สัตยารมณ์ ผอ.หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต อุตสาหกรรมโลจิสติกส์และซัพพลายเชนระหว่างประเทศ ณ ห้องเทวาภิรมย์ หลักสูตรนี้ วิทยาลัยบริหารธุรกิจและการท่องเที่ยวกรุงเทพ และ มหาวิทยาลัยเกริก ร่วมกันพัฒนาหลักสูตรในการสะสมหน่วยกิตและศึกษาต่อในระดับปริญตรีของผู้เรียน โดยการนำร่องของ แผนกวิชาการบัญชี และแผนกวิชาการตลาด ลิงค์
17. โครงการเชิงปฏิบัติการเพื่อเพิ่มศักยภาพบุคลากรสายสนับสนุนในการจัดการศึกษาระบบทวิภาคี หลักสูตรการเขียนคู่มือสมรรถนะวิชาชีพเฉพาะตำแหน่ง
วิทยาลัยบริหารธุรกิจและการท่องเที่ยวกรุงเทพ
เชิงปฏิบัติการเพื่อเพิ่มศักยภาพบุคลากรสายสนับสนุนในการจัดการศึกษาระบบทวิภาคี หลักสูตรการเขียนคู่มือสมรรถนะวิชาชีพเฉพาะตำแหน่ง เพื่อเพิ่มศักยภาพบุคลากรสายสนับสนุนในการจัดการศึกษาระบบทวิภาคี หลักสูตรการเขียนคู่มือสมรรถนะวิชาชีพเฉพาะตำแหน่ง ลิงค์