สรุปผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม ตามนโยบายการพัฒนาอาชีวศึกษา
1310166201 วิทยาลัยอาชีวศึกษาธนบุรี
ที่ | นโยบาย / หัวข้อพัฒนา | โครงการ/กิจกรรม | รายละเอียดกิจกรรม | ผลการดำเนินงาน | หลักฐานประกอบ |
1 | ส่งเสริมการเรียนรู้อาชีวศึกษาทุกที่ทุกเวลา (Anywhere Anytime) | ||||
1.1 การพัฒนาแพลตฟอร์มและสื่อการสอนอาชีวศึกษา | |||||
1.แผนกสามัญสัมพันธ์ วิทยาลัยอาชีวศึกษาธนบุรี ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ให้จัดโครงการพัฒนาทักษะและศักยภาพการจัดการเรียนรู้อาชีวศึกษาด้านภาษาต่างประเทศสำหรับครู บุคลากร และนักศึกษา วิทยาลัยอาชีวศึกษาธนบุรี | ฝ่ายวิชาการ แผนกสามัญสัมพันธ์ วิทยาลัยอาชีวศึกษาธนบุรี ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ให้จัดโครงการพัฒนาทักษะและศักยภาพการจัดการเรียนรู้อาชีวศึกษาด้านภาษาต่างประเทศสำหรับครู บุคลากร และนักศึกษา วิทยาลัยอาชีวศึกษาธนบุรี กำหนดจัดกิจกรรมในรูปแบบแพลตฟอร์มแอพพลิเคชั่น ในรูปแบบออนไลน์ โดยสามารถศึกษาเรียนรู้ได้ด้วยตนเองทุกที่ ทุกเวลา ตลอดภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 | ครูและบุคคลากรมีความรู้ด้านภาษาต่างประเทศ | ลิงค์ | ||
1.2 ขยายโอกาสในการเข้าถึงและการศึกษาอาชีวศึกษา (Vocational for All) | |||||
2.ยกระดับสินค้าและบริการด้วยนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ของคนเมืองในยุคปัจจุบัน ส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์อาชีวศึกษา | สาขาวิชาวิจิตรศิลป์ วิทยาลัยอาชีวศึกษาธนบุรี ร่วมกับ DTGO Corporation Limited และภูมิใจการ์เด้น จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ Happy Leader Happy Team 2566 - Tie Dye Workshop โดยผู้เข้าร่วมโครงการจะร่วมสร้างสรรค์ลวดลายผ้ามัดย้อม ด้วยแนวคิด รูปแบบ และเทคนิคที่ร่วมสมัยเข้ากับไลฟ์สไตล์ของคนเมืองในยุคปัจจุบัน โครงการจัดขึ้นเมื่อเสาร์วันที่ 4 ตุลาคม 2566 ณ Natura cafe & ภูมิใจการ์เด้น เขตจอมทอง | ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 100 คน | ลิงค์ | ||
2 | พัฒนาทักษะวิชาชีพเพื่อลดภาระของผู้เรียนและผู้ปกครอง (Skill Certificate) | ||||
2.1 พัฒนาทักษะและสมรรถนะวิชาชีพ (Up-Skill,Re-Skill) | |||||
1.โครงการตลาดบ้านเรา | แผนกวิชาการตลาด มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาการเรียนการสอน ให้ผู้เรียนได้ มีสมรรถนะที่สูงขึ้น และแสดงศักยภาพทางด้านการบูณาการความคิดสร้างสรรค์ เทคนิค ทักษะ และประสบการณ์ทางวิชาชีพการตลาด อาทิเช่น การขาย การเป็นผู้ประกอบการ การจัดแสดงสินค้า การวางแผนธุรกิจ การโฆษณาและส่งเสริมการขาย รวมทั้งการทำงานเป็นทีม และการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้บูรณาการการเรียน การสอนระหว่างครูและนักเรียน นักศึกษา เสริมสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับตนเอง พัฒนาทักษะงานการขายและการตลาด ซี่งเป็นทักษะสำคัญในการปฏิบัติงานทางวิชาชีพการตลาด | ผลผลิต (Output) 1. ผู้เรียนมีความรู้ด้านการขายและการตลาด ผลลัพธ์ (Outcome) 1. ผู้เรียนมีปฏิบัติงานขายได้ 2. ผู้เรียนสามารถสร้างรายได้จากการขาย 3. ผู้เรียนมีสมรรถนะทางด้านวิชาชีพการการตลาดที่สูงขึ้น - นักเรียน นักศึกษา สาขาวิชาการตลาด ร้อยละ 100.00 เข้าร่วมกิจกรรมโครงการตลาดบ้านเรา - นักเรียน นักศึกษา สาขาวิชาการตลาด มีความรู้และทักษะด้านการขายและการตลาด | ลิงค์ | ||
1.โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ พลิกโฉมเทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล "ระบบจัดการร้านค้าออนไลน์ครบวงจร" | แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจได้จัดโครงการ พลิกโฉมเทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล เพื่อให้ผู้เรียน ได้แลกเปลี่ยนไอเดียและนำเทคโนโลยีมาใช้ในธุรกิจในยุคดิจิทัล เพิ่มศักยภาพให้ผู้เรียนสามารถแข่งขันในยุคศตวรรษที่ 21 โดยการเชิญวิทยากร ได้แก่ คุณจีรภัทร มาลัย คุณพลอยณัชชา สุทธินนท์นาทศิริ และ คุณชณาณัฐ์ สรวงรัชตะรัตน์ มาเป็นวิทยากรให้ความรู้แก่นักเรียน นักศึกษา | 1. ผู้เรียนมีทักษะการเรียนรู้ ทักษะสารสนเทศ สื่อ เทคโนโลยี 2. ผู้เรียนประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ใช้สื่อรูปแบบใหม่ๆ ยุคดิจิทัล 3. ผู้เรียนมีแนวความคิด แรงปันดาลใจ และนำเทคโนโลยีมาใช้ในธุรกิจยุคดิจิทัล | ลิงค์ | ||
1. โครงการมหกรรมผ้าไหม ไหมไทยสู่เส้นทางโลก 2567 | วิทยาลัยอาชีวศึกษาธนบุรี พร้อมด้วยคณะครูและนักเรียนสาขาวิชาแฟชั่นและสิ่งทอ เข้าพบเพื่อนำเสนอผลงานการออกแบบชุดให้แก่นายโจเซ่ บอร์เจส โดส ซันโตส จูเนียร์ (H.E. Mr. Jose Borges dos Santos Junior) เอกอัครราชทูตบราซิลประจำประเทศไทยและครอบครัว จำนวน 5 แนวคิด ได้แก่ 1. คาร์นิวัล 2. นกแก้วมาคอว์สีน้ำเงิน 3. Lungs of the earth 4. Yanomami 5. Cathedral of brasilia ในวันพฤหัสบดีที่ 30 พฤษภาคม 2567 ณ ที่พักของเอกอัครราชทูตบราซิล กรุงเทพมหานคร | นักเรียน นักศึกษาแผนกวิชาแฟชั่นและสิ่งทอได้รับทักษะการตัดเย็บ และได้ชุดเพื่อร่วมเดินแบบแฟชั่นโชว์ของเอกอัครราชทูตบราซิลประจำประเทศไทยและครอบครัว จำนวน 4 ชุด | ลิงค์ | ||
2.2 พัฒนาระบบวัดผลรับรองมาตรฐานวิชาชีพ | |||||
2.3 พัฒนาหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพเฉพาะ (ปวพ.) | |||||
2.4 ส่งเสริมการมีรายได้ระหว่างเรียน จบแล้วมีงานทำ (Learn to Earn) | |||||
4.พิธีมอบประกาศนียรบัตรผู้สำเร็จการศึกษา และฝึกอาชีพ โครงการความร่วมมือการจัดการศึกษา ระบบทวิภาคี และสหกิจศึกษา รุ่นที่ 11 ปีการศึกษา 2566 | ดร.กฤติญา วังหอม ผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษาธนบุรี มอบหมายให้งานอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี เข้าร่วมรับเกียรติบัตรเชิดชูเกียรติ ในความร่วมมือและสนับสนุนการจัดการศึกษาระบบทวิภาคีโดยบริษัทไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด (มหาชน) และนักเรียนแผนกวิชาธุรกิจค้าปลีก เข้าร่วมรับประกาศนียบัตรในพิธีมอบประกาศนียรบัตรผู้สำเร็จการศึกษา และฝึกอาชีพ โครงการความร่วมมือการจัดการศึกษา ระบบทวิภาคี และสหกิจศึกษา รุ่นที่ 11 ปีการศึกษา 2566 เพื่อสร้างความภาคภูมิใจให้แก่นักเรียน นักศึกษา วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567 ณ วิทยาลัยอาชีวศึกษาปทุมธานี | ผู้เรียนมีรายได้ระหว่างเรียน จบแล้วมีงานทำ | ลิงค์ | ||
4.ส่งเสริมการจัดการศึกษาระบบทวิภาคี ตามนโยบาย Learn to Earn มีรายได้ระหว่างเรียน จบแล้วมีงานทำ | วิทยาลัยอาชีวศึกษาธนบุรี ร่วมกับ บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) ประชุมเพื่อพัฒนาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) พุทธศักราช 2563 ประเภทวิชา บริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการธุรกิจค้าปลีก ในวันศุกร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 10.00-12.00 น. ณ อาคารอำนวยการ วิทยาลัยอาชีวศึกษาธนบุรี | หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) พุทธศักราช 2563 ประเภทวิชา บริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการธุรกิจค้าปลีก ที่นักเรียน นักศึกษา มีรายได้ระหว่างเรียน จบแล้วมีงานทำ | ลิงค์ | ||
3 | ยกระดับคุณภาพการจัดการอาชีวศึกษาสมรรถนะสูง | ||||
3.1 ขยายและยกระดับอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี (DVE for All) | |||||
1.ประชุมหารือแนวทางการพัฒนาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) สาขาวิชาธุรกิจค้าปลีก (ระบบทวิภาคี) เพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนด้านการจัดการธุรกิจค้าปลีกที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในอนาคต ยกระดับคุณภาพการจัดการอาชีวศึกษาสมรรถนะสูง (DVE for All) | วันที่ 18 มิถุนายน 2567 วิทยาลัยอาชีวศึกษาธนบุรี นำโดย ดร.กฤติญา วังหอม ผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษาธนบุรี ร่วมกับ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ประชุมหารือแนวทางการพัฒนาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) สาขาวิชาธุรกิจค้าปลีก (ระบบทวิภาคี) เพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนด้านการจัดการธุรกิจค้าปลีกที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในอนาคต ยกระดับคุณภาพการจัดการอาชีวศึกษาสมรรถนะสูง (DVE for All) | ได้รับความร่วมมือและการพัฒนาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) สาขาวิชาธุรกิจค้าปลีก (ระบบทวิภาคี) | ลิงค์ | ||
3.2 ยกระดับการขับเคลื่อนความร่วมมือกับภาคเอกชน (Active MOU/MOA) | |||||
3.3 พัฒนาคุณภาพและทักษะชีวิตผู้เรียนอาชีวศึกษาในทุกมติ | |||||
3.วิทยาลัยอาชีวศึกษาธนบุรีสถานศึกษานำร่องการสร้างองค์ความรู้ทางทะเลฯ ของกระทรวงศึกษาธิการ จัดการเรียนรู้ด้วยความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมสู่รางวัลระดับประเทศ | วิทยาลัยอาชีวศึกษาธนบุรีเป็นสถานศึกษานำร่องขับเคลื่อนโครงการการสร้างองค์ความรู้ทางทะเลและมหาสมุทรและผลประโยชน์ของชาติทางทะเลไปสู่การเรียนการสอน ภายใต้การดำเนินงานของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ กระทรวงกลาโหม และกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกรุงเทพมหานครจัดกิจกรรมสร้างความตระหนักรู้การรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (กิจกรรมสัญจร WORLD OCEAN DAY 2024 ได้รับเกียรติจากทีมวิทยากรจากศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้เรียนและผู้เข้าร่วมกิจกรรม | นักเรียนสาขาวิชาวิจิตรศิลป์ วิทยาลัยอาชีวศึกษาธนบุรีได้รับรางวัลชนะเลิศนวัตกรรมการจัดการองค์ความรู้ทางทะเลฯ ในหัวข้อ องค์ความรู้ด้านงานสร้างสรรค์ (ทัศนศิลป์) สู่การรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลในระดับจังหวัด ภาค และประเทศ | ลิงค์ | ||
3.4 ส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning | |||||
4.กิจกรรม Old Money goodbye senior การจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติของแผนกวิชาโรงแรมโดยใช้เทคนิคการสอนแบบสถานการณ์จำลอง (Simulation Technique ) | แผนกวิชาการโรงแรมใช้เทคนิคการสอนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้มากที่สุด โดยผู้เรียนได้สัมผัสสถานการณ์จริง ปฏิบัติจริง ตามจุดมุ่งหมายที่ผู้สอนได้กำหนด โดยบูรณาการในรายวิชาของสาขาวิชาการโรงแรม นำมาจัดในงานจัดเลี้ยงรูปแบบ Cocktail Party ในธีมงาน Old money night Goodbye senior | ผู้เรียนมีทักษะงานจัดเลี้ยงรูปแบบ Cocktail Party | ลิงค์ | ||
3.5 ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรม การวิจัย และสิ่งประดิษฐ์ | |||||
5.การประกวดสิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่ ระดับชาติ งาน “สุดยอดนวัตกรรมอาชีวศึกษา” การประกวดสิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่ ระดับชาติ ประจำปีการศึกษา 2566 | สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาลัยอาชีวศึกษาธนบุรี เข้าร่วมประกวดสิ่งประดิษฐ์ ประเภทที่ 2 สิ่งประดิษฐ์ด้านนวัตกรรมและปัญญาประดิษฐ์ เรื่อง อุปกรณ์การแจ้งเตือนและควบคุมคุณภาพน้ำสำหรับฟาร์มเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไม ในการประกวดสิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่ ระดับชาติ งาน “สุดยอดนวัตกรรมอาชีวศึกษา” การประกวดสิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่ ระดับชาติ ประจำปีการศึกษา 2566 ณ ชั้น 5 ศูนย์การค้าเซียร์ รังสิต จังหวัดปทุมธานี ระหว่างวันที่ 15-18 กุมภาพันธ์ 2567 | ได้ชิ้นงาน อุปกรณ์การแจ้งเตือนและควบคุมคุณภาพน้ำสำหรับฟาร์มเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไม | ลิงค์ | ||
4 | พัฒนาระบบการเทียบระดับการศึกษาและคลังหน่วยกิตอาชีวศึกษา (Credit Bank) | ||||
4.1 พัฒนาและปรับปรุงหลักสูตร ปวช./ปวส./ป.ตรี | |||||
4.2 พัฒนาระบบการวัดผล เทียบระดับการศึกษาและประเมินผลการศึกษา | |||||
4.3 พัฒนาระบบคลังหน่วยกิตอาชีวศึกษา | |||||
4.4 ตั้งศูนย์เทียบโอนผลการเรียนในระดับจังหวัด (77 ศูนย์) | |||||
4.5 ส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรทวิศึกษา | |||||
5 | พัฒนาทักษะทางภาษาเพื่อการศึกษาและทำงาน (Language Skills) | ||||
5.1 พัฒนาทักษะด้านภาษาให้กับผู้เรียน | |||||
5.2 ส่งเสริมทักษะด้านภาษาเพื่อการทำงานให้กับประชาชน | |||||
5.3 พัฒนาหลักสูตร 2 ภาษา (อังกฤษ/จีน) | |||||
3.การจัดการเรียนการสอนหลักสูตรทวิวุฒิไทย-จีน | การจัดการเรียนการสอนหลักสูตรทวิวุฒิไทย-จีน ระหว่างวิทยาลัยอาชีวศึกษาธนบุรี ซึ่งนำโดย ดร.กฤติญา วังหอม ผู้อำนวยการวิทยาลัยฯ ร่วมกับวิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีและพลังงานยูนนาน โดยได้มีการนิเทศกำกับติดตามเป็นครั้งที่ 2 โดยผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษาธนบุรี ผู้ปกครอง คณะครูผู้รับผิดชอบ และนักศึกษาในโครงการฯ เข้าร่วมประชุมนิเทศติดตาม โดยได้มีการติดตามถึง การเรียนการสอน การใช้ชีวิตและปัญหาต่างๆ โดยนักศึกษาได้รายงานให้ทราบถึงการเรียนและผลงานที่ได้จากการเรียนการสอนวิชาต่างๆ ดังนี้ 1.วิชาอาหารตะวันตก 2.วิชาขนมตะวันตก 3.วิชาแกะสลัก 4.วิชาเพิ่มเติม(อาหารต่างๆ) 5.วิชาอาหารจีน 6.วิชาชงชาจีน และ 7.วิชาภาษาจีน อีกทั้งยังมีกิจกรรมเสริมทักษะนอกห้องเรียนที่น่าสนใจอีกมากมาย อาทิ กังฟูจีน การเขียนพู่กันจีน และกีฬาสากลต่างๆ ทุกคนต่างศึกษาเรียนรู้ที่สาธารณรัฐประชาชนจีนอย่างมีความสุข | นักเรียน นักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาธนบุรี จำนวน 4 คน เข้าร่วมหลักสูตรทวิวุฒิไทย-จีน | ลิงค์ | ||
6 | สร้างช่างชุมชน เพื่อให้ประชาชนมีอาชีพเสริม (1 วิทยาลัย 1 ศูนย์ช่างชุมชน) | ||||
6.1 สร้างศูนย์ช่างชุมชน 433 แห่ง | |||||
6.2 พัฒนาทักษะอาชีพช่างและสร้างอาชีพเสริม (หลักสูตรช่างชุมชน) | |||||
2.Fixit จิตอาสา TVC วิทยาลัยอาชีวศึกษาธนบุรี จัดบริการบริการศูนย์ ซ่อม สร้างและพัฒนาต่อยอดสินค้าในชุมชน | Fixit จิตอาสา TVC วิทยาลัยอาชีวศึกษาธนบุรี จัดบริการบริการศูนย์ ซ่อม สร้างและพัฒนาต่อยอดสินค้าในชุมชน ขอเชิญผู้ที่สนใจร่วมใช้บริการ ซ่อม สร้าง และกิจกรรมสอนสร้างอาชีพการซ่อมมุ้งลวดให้กับผู้ที่สนใจ และมีบริการอื่นๆอีกมากมาย ในกิจกรรมครั้งนี้ ฟรี!!! ไม่มีค่าใช้จ่าย เพียงท่านทำบัตรประชาชนมาใบเดียวเท่านั้น ในวันเสาร์ที่ 27 และวันอาทิตย์ที่ 28 มกราคม 2567เวลา08.00-16.00 น. ณ ลานโดม วิทยาลัยอาชีวศึกษาธนบุรี | ดร.กฤติยา วังหอม ผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษาธนบุรี พร้อมด้วย นางสุนทรี อาจทวีกุล นายปริญญา อินทรกวี รองผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษาธนบุรี และคณะครูนักเรียน ร่วมพิธีเปิด “ Fix it จิตอาสา TVC” โดยจัดบริการศูนย์ ซ่อม สร้างและพัฒนาต่อยอดสินค้าชุมชน โดยมีผู้ที่ สนใจร่วมใช้บริการ ซ่อม สร้าง และกิจกรรมสอนสร้างอาชีพ การซ่อมมุ้งลวดให้กับผู้ร่วมกิจกรรมและมีบริการซ่อมแซมมุ้งลวดซ่อมแซมเสื้อผ้า,ซ่อมแซมคอมพิวเตอร์,สร้างอาชีพผลิตภัณฑ์นํ้ายาล้างจาน,ทำพวงกุญแจเครื่องหนัง สอนทำอาหารว่าง แซนวิส,สลัดโรล ณ ลานโดม วิทยาลัยอาชีวศึกษาธนบุรี | ลิงค์ | ||
6.3 พัฒนา Application ช่างชุมชน | |||||
7 | เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานบุคคลและการบริหารจัดการ | ||||
7.1 แก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษา | |||||
7.2 แก้ไขปัญหาความขาดแคลนครูผู้สอนอาชีวศึกษา (จัดหาครูอัตราจ้าง) | |||||
7.3 ส่งเสริมให้ครูปฏิบัติงานในภูมิลำเนาของตนเองตามแนวทาง ก.ค.ศ. | |||||
7.4 พัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรอาชีวศึกษาสมรรถนะสูง | |||||
4.ครูวิทยาลัยอาชีวศึกษาธนบุรีเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ 2024 “Chinese + TVET” ASEAN Talents Training Program | เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ 2024 "Chinese + TVET" ASEAN Talents Training Program มีครูผู้เข้าร่วมอบรมจำนวนท้้งสิ้น 31 คน จากประเทศในกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ทั้งนี้ ครูผู้เข้ารับการอบรมได้เรียนรู้ภาษาจีน การจัดการชั้นเรียน เยี่ยมชมสถานที่จัดการเรียนการสอน ห้องทฤษฎี ห้องปฏิบัติการ ห้อง training ของประเภทวิชาบริหารธุรกิจ อบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับ การพัฒนาอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดน, การถ่ายทอดอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดน, การประกอบธุรกิจร้านค้าออนไลน์และการถ่ายทอดสด, การวิเคราะห์ข้อมูลของแพลตฟอร์มออนไลน์ Shopee&Lazada และการบริหารจัดการระบบโลจิสติกส์ เยี่ยมชมสถานประกอบการ - Baguazhou, Jiangsu Weichi Digital Technology Co., Ltd., บริษัทวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตอบสนองความต้องของลูกค้า - A.O. SMITH Corporation ผู้ผลิตเครื่องทำน้ำอุ่นและหม้อต้มน้ำทั้งในที่พักอาศัยและเชิงพาณิชย์ในอเมริกา - China Post Group Corporation บริษัทบริการไปรษณีย์แห่งชาติของสาธารณรัฐประชาชนจีน - Suning .com Group Co., Ltd. ผู้ค้าปลีกที่ไม่ใช่ภาครัฐรายใหญ่ที่สุดในจีน - Gaochun Ceramics Co.,Ltd. บริษัทผลิตเซรามิครายใหญ่ที่ผลิตรับรองการจัดเลี้ยงระดับนานาชาติของภาครัฐและเอกชน ของสาธารณรัฐประชาชนจีน | ครูที่เข้าอบรมได้รับความรู้ และประสบการณ์ทางด้านภาษา + วิชาชีพ และวัฒนธรรมจีน สามารถนำไปบูรณาการในการจัดการเรียนการสอน สร้างความสนใจ แรงจูงใจ และสร้างทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมจีนให้แก่ผู้เรียนอาชีวศึกษา | ลิงค์ | ||
4.ครูวิทยาลัยอาชีวศึกษาธนบุรีเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ “E-Commerce Valley” | ครูจตุพงศ์ ภูอาวุธ ครูสาขาวิชาการตลาด วิทยาลัยอาชีวศึกษาธนบุรี ได้รับการสนับสนุนทุนอบรมจากกระทรวงศึกษาธิการแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ “E-Commerce Valley” มีผู้เข้าร่วมอบรมจำนวนท้้งสิ้น 30 คน โดย ศูนย์การศึกษาอินเตอร์เวค (Intervec Center) ประเทศไทย ทั้งนี้ ผู้เข้ารับการอบรมได้เรียนรู้ภาษาจีน การจัดการชั้นเรียน เยี่ยมชมสถานที่จัดการเรียนการสอนแผนกพาณิชยกรรม ห้องทฤษฎี ห้องปฏิบัติการ ห้อง training ของประเภทวิชาพาณิชยกรรม อบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการช เยี่ยมชมสถานประกอบการ LAZADA x Guangxi Tus Innovation Cross-border E-Commerce Co., Ltd. เรียนรู้"การพัฒนาผลิตภัณฑ์อีคอมเมิร์ซ" , บริษัท Guangxi Topao Smart City Operation Management Co., Ltd. เรียนรู้และประสบการณ์การฝึกอบรมอีคอมเมิร์ซถ่ายทอดสด และ ร่วม live ขายต้นมะลิสินค้าเกษตรขึ้นชื่อของเมือง เหิงโจว กับ บริษัท กว่างสี เหิงเซี่ยน ลี่เฟย แอกริคัลเชอรัล เทคโนโลยี จำกัด รวมทั้งศึกษาสถานที่สำคัญและวัฒนธรรมขิงจีน | ครูที่เข้าอบรมได้รับความรู้ และประสบการณ์ทางด้านภาษา + วิชาชีพ และวัฒนธรรมจีน สามารถนำไปบูรณาการในการจัดการเรียนการสอน สร้างความสนใจ แรงจูงใจ และสร้างทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมจีนให้แก่ผู้เรียนอาชีวศึกษาต่อไป | ลิงค์ | ||
4.ครูวิทยาลัยอาชีวศึกษาธนบุรีเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ “ทักษะภาษาจีน และทักษะวิชาชีพโลจิสติกส์ | ครูวิทยาลัยอาชีวศึกษาธนบุรี 2 ท่าน ได้รับการสนับสนุนทุนอบรมจากกระทรวงศึกษาธิการแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้แก่ ครูนจิรัตน์ นวลวิวัฒน์ และครูจตุพงศ์ ภูอาวุธ เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ “ทักษะภาษาจีน และทักษะวิชาชีพโลจิสติกส์ มีผู้เข้าร่วมอบรมจำนวนท้้งสิ้น 18 คน โดย ศูนย์การศึกษาอินเตอร์เวค (Intervec Center) ประเทศไทย ทั้งนี้ ผู้เข้ารับการอบรมได้เรียนรู้ภาษาจีน การจัดการชั้นเรียน เยี่ยมชมสถานที่จัดการเรียนการสอนแผนกพาณิชยกรรม ห้องทฤษฎี ห้องปฏิบัติการ ห้อง training ของประเภทวิชาพาณิชยกรรม อบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการดําเนินงานรถยก (รถโฟล์คลิฟท์ : forklift) การปฏิบัติงานด้านบรรจุภัณฑ์และระบบการขนส่ง คลังสินค้าอัจฉริยะโดยซอฟต์แวร์ "MEGVII HETU" เยี่ยมชมสถานประกอบการ Taobao, SF Express, ท่าเรือกว่อหยวนและท่าเรือบก Chongqing ASEAN International Logistics Park, ฉงชิ่ง ลี่ เหยา โลจิสติกส์, ทูจู โลจิสติกส์ พาร์ค รวมทั้งศึกษาสถานที่สำคัญและวัฒนธรรมของจีน ส่งผลให้ครูที่เข้าอบรมได้รับความรู้ และประสบการณ์ทางด้านภาษา + วิชาชีพ และวัฒนธรรมจีน สามารถนำไปบูรณาการในการจัดการเรียนการสอน สร้างความสนใจ แรงจูงใจ และสร้างทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมจีนให้แก่ผู้เรียนอาชีวศึกษาต่อไป ณ วิทยาลัยอาชีวศึกษาการจัดการเมืองฉงชิ่ง สาธารณรัฐประชนจีน ระหว่างวันที่ 11 - 20 ตุลาคม 2566 | ครูวิทยาลัยอาชีวศึกษาธนบุรี 2 ท่าน ไ ได้แก่ ครูนจิรัตน์ นวลวิวัฒน์ และครูจตุพงศ์ ภูอาวุธ เมีทักษะเชิงปฏิบัติการ “ทักษะภาษาจีน และทักษะวิชาชีพโลจิสติกส์ | ลิงค์ | ||
7.5 ส่งเสริมข้าราชการครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาให้มีวิทยฐานะและตำแหน่งทางวิชาการที่สูงขึ้น | |||||
7.6 ขับเคลื่อนและบริหารงานโดยยึดหลักธรรมาภิบาล (Good Govermance) | |||||
6.โครงการพัฒนาบุคลากรด้านเสริมสร้างความรู้ด้านพัสดุตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 | วิทยาลัยอาชีวศึกษาธนบุรีได้จัดอบรมโครงการพัฒนาบุคลากรด้านเสริมสร้างความรู้ด้านพัสดุตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 โดยได้รับเกียรติจาก อาจารย์สุรินทร์ ขันติวณิชย์ เป็นวิทยากรบรรยาย ในวันศุกร์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ.2567 ณ ห้องประชุมอาคาร 9 ชั้น 1 วิทยาลัยอาชีวศึกษาธนบุรี | 1. ครูร้อยละ 100.00 เข้าร่วมโครงการ 2. ครูมีความรู้ด้านพัสดุตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 | ลิงค์ | ||
7.7 ป้องกันแะปราบปรามการทุจริตคอร์รับชั่นอย่างมีประสิทธิภาพ | |||||
7.8 นำระบบเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาใช้ในการบริหารจัดการ | |||||
7.9 ปรับปรุงกฎ ประกาศ ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง | |||||
8 | เสริมสร้างภาพลักษณ์อาชีวศึกษายุคใหม่ | ||||
8.1 เสรมสร้างสถานศึกษาอาชีวศึกษาแห่งความสุขและปลอดภัย | |||||
1.สถานศึกษาอาชีวศึกษาวิถีพุทธ | วิทยาลัยอาชีวศึกษาธนบุรี ได้เข้าร่วมจัดแสดง นิทรรศการ และรับโล่ประกาศเกียรติคุณสถานศึกษาอาชีวศึกษาวิถีพุทธชั้นนำรุ่นที่ 2 ในงานนิทรรศการ "มาฆบูชา สมัชชาวิถีพุทธ ครั้งที่ 5" ระหว่างวันที่ 20-21 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2567 ณ อาคารหอประชุม 48 พรรษา มหาวชิราลงกรณ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยตำบลลำโทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา | วิทยาลัยอาชีวศึกษาธนบุรีได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณสถานศึกษาอาชีวศึกษาวิถีพุทธชั้นนำรุ่นที่ 2 ใ | ลิงค์ | ||
8.2 ยกระดับการประชาสัมพันธ์และการสื่อสารองค์กร | |||||
8.3 เชิดชูเกียรติศิษย์เก่าดีเด่น / สร้างต้นแบบรุ่นพี่อาชีวะ (Senior idol) | |||||
3.ทัวร์อาณาจักร JIB มูลค่าหมื่นล้าน ของศิษย์เก่าสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาธนบุรี | สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาธนบุรี เข้าศึกษาดูงานสถานประกอบการ ในด้านวิสัยทัศน์การเป็นผู้บริหาร โดย คุณสมยศ เชาวลิต ระบบบริหารจัดการออนไลน์บริษัท JIB และเปิดอาณาจักรหุ่นยนต์ JIB ปัญญาประดิษฐ์ AI ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567 ณ บริษัท JIB สำนักงานใหญ่ | นักเรียนนักศึกษา ได้รับแนวทางในการประกอบอาชีพในอนาคต | ลิงค์ | ||
3.นักเรียน นักศึกษาเข้ารับการประเมินเพื่อรับรางวัลนักศึกษารางวัลพระราชทาน ประเภทสถานศึกษาอาชีวศึกษาขนาดกลาง | นางสาวพิยดา นาเกลือ ระดับชั้น ปวส.2 คอมพิวเตอร์กราฟิก ได้ผ่านการประเมิน มีสิทธิ์เข้ารับการประเมินเพื่อรับรางวัลนักศึกษารางวัลพระราชทาน ประเภทสถานศึกษาอาชีวศึกษาขนาดกลาง ประจำปีการศึกษา 2566 ระดับเขตความรับผิดชอบกลุ่มกรุงเทพมหานคร ในลำดับต่อไป | นางสาวพิยดา นาเกลือ ระดับชั้น ปวส.2 คอมพิวเตอร์กราฟิก ได้ผ่านการประเมิน มีสิทธิ์เข้ารับการประเมินเพื่อรับรางวัลนักศึกษารางวัลพระราชทาน ประเภทสถานศึกษาอาชีวศึกษาขนาดกลาง ประจำปีการศึกษา 2566 และเป็นการสร้างต้นแบบในการเรียนและการดำเนินชีวิตของรุ่นน้อง | ลิงค์ | ||
8.4 ส่งเสริม Soft Power อาชีวศึกษา (1 วิทยาลัย 1 Soft Power/อัตลักษณ์) | |||||
4.โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ด้วยองค์ความรู้ผลงานสร้างสรรค์ วิจัย และนวัตกรรม | สำนักวิจัยและพัฒนาการอาชีวศึกษาประชุมขับเคลื่อนกิจกรรม Thailand Research Expo & Symposium 2024 ในงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2567 (Thailand Research Expo 2024)” ครั้งที่ 19 ในหัวข้อ งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อสร้างพลังสร้างสรรค์ หรือ Soft Power ของประเทศ ครอบคลุมงานวิจัยและนวัตกรรมเกี่ยวกับการยกระดับและพัฒนาความสามารถด้านความรู้ ความสามารถ และความคิดสร้างสรรค์ของคนไทยให้สร้างมูลค่าและสร้างรายได้ รวมทั้งการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาต่อยอดศิลปวัฒนธรรมและส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อนำมาต่อยอดในการสร้างมูลค่าเพิ่มในอุตสาหกรรม Soft Power 11 สาขา โอกาสนี้ ดร.นิรุตต์ บุตรแสนลี ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการอาชีวศึกษา เป็นประธานในการประชุม พร้อมด้วย ดร.กฤติญา วังหอม ผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษาธนบุรี คณะผู้บริหาร ครูวิทยาลัยอาชีวศึกษาธนบุรี และคณะกรรมการดำเนินงานสำนักวิจัยและพัฒนาการอาชีวศึกษา เข้าร่วมการประชุม ในวันที่ 18 มิถุนายน 2567 ณ Mirror room อาคารอำนวยการ วิทยาลัยอาชีวศึกษาธนบุรี | ยกระดับและพัฒนาความสามารถด้านความรู้ ความสามารถ และความคิดสร้างสรรค์ของคนไทยให้สร้างมูลค่าและสร้างรายได้ รวมทั้งการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาต่อยอดศิลปวัฒนธรรมและส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อนำมาต่อยอดในการสร้างมูลค่าเพิ่มในอุตสาหกรรม Soft Power ทางด้านวิจิตรศิลป์ | ลิงค์ |