สรุปผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม ตามนโยบายการพัฒนาอาชีวศึกษา
1310106101 วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี
ที่ นโยบาย / หัวข้อพัฒนา โครงการ/กิจกรรม รายละเอียดกิจกรรม ผลการดำเนินงาน หลักฐานประกอบ
1 ส่งเสริมการเรียนรู้อาชีวศึกษาทุกที่ทุกเวลา (Anywhere Anytime)
1.1 การพัฒนาแพลตฟอร์มและสื่อการสอนอาชีวศึกษา
1.โครงการพัฒนาศักยภาพครูสู่ครูมืออาชีพด้วยชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community :PLC วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี จัดโครงการพัฒนาศักยภาพครูสู่ครูมืออาชีพด้วยชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community :PLC) วิทยากรโดย ดร.ธนสาร รุจิรา ตำแหน่งศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ในหัวข้อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้แก่ การผลิตสื่อด้วยAI, แผนการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตร ปวช. และ ปวส. พ.ศ. 2567 คณะครูวิทยาลัยเทคนิคมีนบุรีได้รับความรู้ด้าน การผลิตสื่อด้วยAI, แผนการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตร ปวช. และ ปวส. พ.ศ. 2567 เพื่อให้สามารถนำความรู้ ประสบการณ์ที่ได้ไปพัฒนาแพลตฟอร์มและสื่อการสอนอาชีวศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ ลิงค์
1.2 ขยายโอกาสในการเข้าถึงและการศึกษาอาชีวศึกษา (Vocational for All)
2.โครงการแนะแนวศึกษาต่อให้กับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย เพื่อเข้าศึกษาในปีการศึกษา 2567 แนะแนวการศึกษาต่อเพื่อเป็นประโยชน์ สร้างแรงจูงใจและทัศนคติที่ดีต่อการศึกษาต่อสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ทำให้นักเรียนสามารถเลือกศึกษาต่อได้ตามความต้องการ ความถนัดและความสามารถของนักเรียน นักศึกษา บรรลุวัตถ่ประสงค์ตามเป้าหมาย โดยมี นักเรียน นักศึกษาเข้าศึกษาต่อ วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี บรรลุตามเป้าหมายการรับนักเรียน นักศึกษาเข้าศึกษาต่อที่กำหนดไว้ ลิงค์
2 พัฒนาทักษะวิชาชีพเพื่อลดภาระของผู้เรียนและผู้ปกครอง (Skill Certificate)
2.1 พัฒนาทักษะและสมรรถนะวิชาชีพ (Up-Skill,Re-Skill)
1."มหกรรมหุ่นยนต์อาชีวศึกษา" (OVEC Robot Show & Share) การแข่งขันหุ่นยนต์อาชีวศึกษา ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ระดับชาติ ประจำปีพุทธศักราช 256 วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรีได้ส่งทีมช่างมีน เพื่อเข้าร่วม "มหกรรมหุ่นยนต์อาชีวศึกษา" (OVEC Robot Show & Share) การแข่งขันหุ่นยนต์อาชีวศึกษา ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ระดับชาติ ประจำปีพุทธศักราช 2567 ระหว่างวันที่ 11 - 16 มิถุนายน 2567 ณ ศูนย์การค้าเซียร์ รังสิต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี นักเรียนนักศึกษาได้ใช้ความรู้และทักษะวิชาชีพในการประดิษฐ์หุ่นยนต์เพื่อเข้าร่วม "มหกรรมหุ่นยนต์อาชีวศึกษา" (OVEC Robot Show & Share) การแข่งขันหุ่นยนต์อาชีวศึกษา ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ระดับชาติ ประจำปีพุทธศักราช 2567 ส่งผลให้ได้พัฒนาทักษะและสมรรถนะวิชาชีพ ลิงค์
2.2 พัฒนาระบบวัดผลรับรองมาตรฐานวิชาชีพ
2.3 พัฒนาหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพเฉพาะ (ปวพ.)
3.โครงการอบรมหลักสูตรระยะสั้นการสร้างหุ่นยนต์ด้วย Micro : bit วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี ได้มอบหมายให้แผนกวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์ ร่วมกับงานพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน ดำเนินการจัดโครงการอบรมหลักสูตรระยะสั้นการสร้างหุ่นยนต์ด้วย Micro : bit ตามนโยบายในการขยายความร่วมมือ และจัดการศึกษาร่วมกับสถานศึกษาเครือข่าย เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีความถนัดทางด้านวิศวกรรม ณ โรงเรียนสารสาสน์วิเทศนิมิตใหม่ โรงเรียนสารสาสน์วิเทศนิมิตใหม่ ร่วมกับวิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี จัดอบรมเชิงปฏิบัติการนักเรียนมัธยมปลาย นักเรียนได้เรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ลงมือปฏิบัติจริง นักเรียนได้รับความรู้และแรงบันดาลใจจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาชีพ ลิงค์
2.4 ส่งเสริมการมีรายได้ระหว่างเรียน จบแล้วมีงานทำ (Learn to Earn)
4.โครงการ ส่งเสริมการเป็นผู้ประกอบการ โครงการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนอาชีวศึกษาในการเป็นผู้ประกอบการ และเพื่อเป็นการสร้างแรงบันดาลใจในการเป็นผู้ประกอบการแก่นักเรียน นักศึกษา พร้อมทั้งพัฒนาศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษาให้พร้อมต่อการเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านธุรกิจ ดำเนินการสำเร็จตามวัตถุประสงค์ โดยนักเรียน นักศึกษา ที่เข้าร่วมกิจกรรมการอบรม ได้รับความรู้ในการเขียนแผนธุรกิจ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียน และประกอบอาชีพ อีกทั้งนำมาดำเนินการพัฒนาศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการในสถานศึกษาได้ ลิงค์
3 ยกระดับคุณภาพการจัดการอาชีวศึกษาสมรรถนะสูง
3.1 ขยายและยกระดับอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี (DVE for All)
3.2 ยกระดับการขับเคลื่อนความร่วมมือกับภาคเอกชน (Active MOU/MOA)
2. โครงการสุขาดี มีความสุข สถานศึกษาภาครัฐและเอกชน วันพุธที่ 19 มิถุนายน พ.ศ.2567 นายเสถียร อุตวัต ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี พร้อมด้วยรองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารทรัพยากรและคณะครู ได้รับแต่งตั้งจากสำนักงานอาชีวศึกษากรุงเทพมหานครเป็นคณะกรรมการการประเมิน เกณฑ์มาตรฐาน โครงการสุขาดี มีความสุข สถานศึกษาภาครัฐและเอกชน ลงพื้นที่ดำเนินการติดตามและประเมินผลเกณฑ์มาตรฐานโครงการสุขาดี มีความสุข ณ วิทยาลัยเทคโนโลยีทักษิณาบริหารธุรกิจ กรุงเทพมหานคร ลงพื้นที่ดำเนินการติดตามและประเมินผลเกณฑ์มาตรฐานโครงการสุขาดี มีความสุข ลิงค์
3.3 พัฒนาคุณภาพและทักษะชีวิตผู้เรียนอาชีวศึกษาในทุกมติ
3.โครงการพัฒนาศักภาพผู้เรียนอาชีวศึกษาในการเป็นผู้ประกอบการ เป็นโครงการสนับสนุนและส่งเสริมการหารายได้ระหว่างเรียน เป็นแนวทางหนึ่งในการสร้างองค์ความรู้ด้านการประกอบธุรกิจและจิตสำนึกในเชิงธุรกิจ ให้แก่กลุ่มนักศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาซึ่งมีพื้นฐานด้านความรู้ด้านเทคนิควิธี และวิชาชีพเฉพาะด้าน ได้มีโอกาสการเรียนรู้การทำธุรกิจอย่างเป็นระบบ พัฒนาศักยภาพผู้เรียนอาชีวศึกษาในการเป็นผู้ประกอบการ และเพื่อเป็นการสร้างแรงบันดาลใจในการเป็นผู้ประกอบการแก่นักเรียน นักศึกษา พร้อมทั้งพัฒนาศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษาให้พร้อมต่อการเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านธุรกิจ ลิงค์
3.โครงการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนอาชีวศึกษาในการเป็นผู้ประกอบการ แ วันศุกร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ.2567 นายเสถียร อุตวัต ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี เป็นประธานพิธีเปิดโครงการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนอาชีวศึกษาในการเป็นผู้ประกอบการ และเพื่อเป็นการสร้างแรงบันดาลใจในการเป็นผู้ประกอบการแก่นักเรียน นักศึกษา พร้อมทั้งพัฒนาศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษาให้พร้อมต่อการเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านธุรกิจ ณ ห้องประชุมทองกวาว อาคาร 2 ชั้น 2 วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี พัฒนาศักยภาพผู้เรียนอาชีวศึกษาในการเป็นผู้ประกอบการ และเพื่อเป็นการสร้างแรงบันดาลใจในการเป็นผู้ประกอบการแก่นักเรียน ลิงค์
3.4 ส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning
3.5 ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรม การวิจัย และสิ่งประดิษฐ์
5.โครงการเข้าร่วม “สุดยอดนวัตกรรมอาชีวศึกษา” การประกวดสิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่ ระดับ อศจ.ระดับภาคและระดับชาติ ส่งเสริม สนับสนุนผู้เรียนให้เป็นสุดยอดนวัตกรรมอาชีวศึกษาในการคิดค้นประกวดสิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่ในเป็นที่ประจักษ์ในระดับ อศจ.ระดับภาคและระดับชาติ ผู้เรียนได้เข้าร่วมการประกวดสิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่ ในระดับภาค ซึ่งบรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ ลิงค์
4 พัฒนาระบบการเทียบระดับการศึกษาและคลังหน่วยกิตอาชีวศึกษา (Credit Bank)
4.1 พัฒนาและปรับปรุงหลักสูตร ปวช./ปวส./ป.ตรี
4.2 พัฒนาระบบการวัดผล เทียบระดับการศึกษาและประเมินผลการศึกษา
2.โครงการเตรียมความพร้อมในการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านอาชีวศึกษา (V-NET) วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรีดำเนินงานจัดการดำเนินงานจัดการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านอาชีวศึกษาระดับชาติ (V-NET) ประจำปีการศึกษา 2566 นักเรียนมีผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านอาชีวศึกษาระดับชาติ (V-NET) ประจำปีการศึกษา 2566 ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 55.08 ตามที่กำหนดไว้ ลิงค์
4.3 พัฒนาระบบคลังหน่วยกิตอาชีวศึกษา
4.4 ตั้งศูนย์เทียบโอนผลการเรียนในระดับจังหวัด (77 ศูนย์)
4.5 ส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรทวิศึกษา
5 พัฒนาทักษะทางภาษาเพื่อการศึกษาและทำงาน (Language Skills)
5.1 พัฒนาทักษะด้านภาษาให้กับผู้เรียน
1.โครงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและภาษา ของมหาวิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีและวิศวกรรม เหอเป่ย์ สาธารณรัฐประชาชนจีน กับวิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี ได้เรียนรู้วัฒนธรรมด้านภาษาไทยในการสื่อสารเบื้องต้น ชมความงามสถาปัตยกรรมของพระบรมหาราชวัง วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม วัดอรุณราชวราราม อีกทั้งได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ชาติไทยในการศึกษาโบราณสถานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และได้ทำอาหารไทย รวมถึงเรียนรู้การสกรีนภาพถ่ายลงบนกระเป๋ากับแผนกวิชาช่างพิมพ์ นักเรียนนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคมีนบุรีได้แลกเปลี่ยนภาษา ความรู้ และวัฒนธรรม กับนักศึกษา มหาวิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีและวิศวกรรม เหอเป่ย์ สาธารณรัฐประชาชนจีน ลิงค์
1.นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) รูปแบบทวิวุฒิ สาขาวิชาเมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์ ณ Shanghai Technical Institute of Electronics & Information สาธารณรัฐประชาชนจีน ภาคเรียนที่ 2 ของนักศึกษาเทคนิคมีนบุรีในต่างประเทศ ซึ่งในภาคเรียนนี้ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) รูปแบบทวิวุฒิ สาขาวิชาเมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์ ณ Shanghai Technical Institute of Electronics & Information สาธารณรัฐประชาชนจีน ได้มีโอกาสเข้าศึกษาดูงานที่บริษัท Shanghai SAGE Intelligent Technology Co.,Ltd. ซึ่งเป็นบริษัทที่เชี่ยวชาญด้านการจัดหาโครงสร้างพื้นฐานหลักที่ผสมผสานปัญญาประดิษฐ์และหุ่นยนต์เข้าด้วยกัน เป็นองค์กรที่มีเทคโนโลยีสูงที่ให้บริการโซลูชันระบบสำหรับการพัฒนาและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ภาคเรียนที่ 2 ของนักศึกษาเทคนิคมีนบุรีในต่างประเทศ ซึ่งในภาคเรียนนี้ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) รูปแบบทวิวุฒิ สาขาวิชาเมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์ ณ Shanghai Technical Institute of Electronics & Information สาธารณรัฐประชาชนจีน ได้มีโอกาสเข้าศึกษาดูงานที่บริษัท Shanghai SAGE Intelligent Technology Co.,Ltd. ซึ่งเป็นบริษัทที่เชี่ยวชาญด้านการจัดหาโครงสร้างพื้นฐานหลักที่ผสมผสานปัญญาประดิษฐ์และหุ่นยนต์เข้าด้วยกัน เป็นองค์กรที่มีเทคโนโลยีสูงที่ให้บริการโซลูชันระบบสำหรับการพัฒนาและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ในวันที่ 12 พฤศจิกายน 2567 ลิงค์
5.2 ส่งเสริมทักษะด้านภาษาเพื่อการทำงานให้กับประชาชน
5.3 พัฒนาหลักสูตร 2 ภาษา (อังกฤษ/จีน)
3.โครงการ แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและภาษา ร่วมกับสถานศึกษาอาเซียนและนานาชาติ วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรีได้ทำความร่วมมือกับShanghai Technical Institute of Electronic & Information สาธารณรัฐประชาชนจีน ให้นักศึกษาหลักสูตรอาชีวศึกษารูปแบบทวิวุฒิไทย-จีน เข้ายังShanghai Technical Institute of Electronic & Information สาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อพัฒนาทักษะด้านภาษา และวิชาชีพของนักศึกษา ให้ตอบสนองต่อความต้องการของตลาดแรงงานในโลกปัจจุบัน วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรีและวิทยาลัยเทคนิคดอนเมืองได้ส่งนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชาเมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์รูปแบบทวิวุฒิไทย-จีน จำนวน 30 คน ณ Shanghai Technical Institute of Electronic & Information สาธารณรัฐประชาชนจีน ลิงค์
6 สร้างช่างชุมชน เพื่อให้ประชาชนมีอาชีพเสริม (1 วิทยาลัย 1 ศูนย์ช่างชุมชน)
6.1 สร้างศูนย์ช่างชุมชน 433 แห่ง
1.MCT Maket วันพุธที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ.2567 นายเสถียร อุตวัต ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี มอบหมายให้นางมุกกรินทร์ สุมาริธรรม รองผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนากิจการนักเรียนนักศึกษา เป็นประธานในการเปิดโครงการ MTC market เพื่อหารายได้ระหว่างเรียน จัดโดยชมรมวิชาชีพการบัญชี เพื่อให้นักเรียนนักศึกษามีรายได้ระหว่างเรียน อีกทั้งส่งเสริมประสบการณ์ให้นักเรียน นักศึกษาสามารถนำทักษะไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ ณ ลานกิจกรรมหน้าเสาธง วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี ส่งเสริมประสบการณ์ให้นักเรียน นักศึกษาสามารถนำทักษะไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ ลิงค์
6.2 พัฒนาทักษะอาชีพช่างและสร้างอาชีพเสริม (หลักสูตรช่างชุมชน)
2.โครงการ อาชีวศึกษาร่วมด้วยช่วยประชาชน วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรีร่วมกับธนาคารออมสินภาค 2 ดำเนินโครงการ "ออมสินอาชีวะสร้างอาชีพสู่ชมชน"กิจกรรมอบรม "หลักสูตรช่างซิลค์สกรีน" ให้กับประชาชนในชุมชนทรัพย์เจริญ ณ ชุมชนทรัพย์เจริญ กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 11-12 พฤษภาคม พ.ศ.2567 และ วันที่ 18-19 พฤษภาคม พ.ศ.2567 ตามนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และธนาคารออมสิน เพื่อให้ประชาชน มีความรู้และทักษะวิชาชีพ สามารถนำไปประกอบอาชีพสร้างรายได้ต่อไป ดำเนินการเสร็จสิ้นบรรลุวัตถุประสงค์ ประชาชนได้ความรู้ในหลักสูตรการสกรีน และสามารถน้ำคสามรู้ไปประยุกต์ใช้ในการประกอบออาชีพเลี้ยงตนเองได้ อีกทั้ง ประชนยังต้องการให้จัดหลักสูตรอื่น ๆ ในปีถัดไป ลิงค์
6.3 พัฒนา Application ช่างชุมชน
3.โครงการส่งเสริมการแข่งขันกีฬา E-Sports (ICT-Game) เพื่อพัฒนากำลังคนด้านทักษะดิจิทัลสู่มาตรฐานสากล ระดับสถานศึกษา รอบชิงชนะเลิศ ระหว่างทีม sunflower วันพุธที่ 26 มิถุนายน พ.ศ.2567 นายเสถียร อุตวัต ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี ประธานในพิธี พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดโครงการส่งเสริมการแข่งขันกีฬา E-Sports (ICT-Game) เพื่อพัฒนากำลังคนด้านทักษะดิจิทัลสู่มาตรฐานสากล ระดับสถานศึกษา รอบชิงชนะเลิศ ระหว่างทีม sunflower และทีม come to lost เพื่อเป็นตัวแทนในการแข่งขันในระดับสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดกรุงเทพ อีกทั้งส่งเสริมให้นักเรียน นักศึกษาใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ พัฒนาทักษะในด้านการคิด การวางแผนและต่อยอดสู่การสร้างอาชีพสร้างรายได้ในอนาคตต่อไป ณ ห้องประชุมสุธี-ฉวีวรรณ อาคาร 6 ชั้น 5 วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี พัฒนาทักษะในด้านการคิด การวางแผนและต่อยอดสู่การสร้างอาชีพสร้างรายได้ในอนาคตต่อไป ลิงค์
7 เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานบุคคลและการบริหารจัดการ
7.1 แก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษา
7.2 แก้ไขปัญหาความขาดแคลนครูผู้สอนอาชีวศึกษา (จัดหาครูอัตราจ้าง)
7.3 ส่งเสริมให้ครูปฏิบัติงานในภูมิลำเนาของตนเองตามแนวทาง ก.ค.ศ.
3.ครูผู้ได้รับย้ายมาดำรงตำแหน่ง ณ วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี นายเสถียร อุตวัต ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี พร้อมคณะผู้บริหาร คณะครูและบุคลากรการศึกษา ร่วมต้อนรับ แสดงความยินดีกับครูผู้ได้รับย้ายมาดำรงตำแหน่ง ณ วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี จำนวน 2 ท่านได้แก่นางสาวสุชานาฎ ถิ่นขาม ครูสาขาวิชาช่างกลโรงงานและเทคนิคการผลิต จาก วิทยาลัยเทคนิคนครอุบลราชธานี และนางสาวกนกกานต์ ลลิตนันทพันธุ์ ครูสาขาวิชาภาษาจีน จาก วิทยาลัยเทคนิคพระนครศรีอยุธยา ครูผู้ได้รับย้ายมาดำรงตำแหน่ง ณ วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี จำนวน 2 ท่านได้แก่นางสาวสุชานาฎ ถิ่นขาม ครูสาขาวิชาช่างกลโรงงานและเทคนิคการผลิต จาก วิทยาลัยเทคนิคนครอุบลราชธานี และนางสาวกนกกานต์ ลลิตนันทพันธุ์ ครูสาขาวิชาภาษาจีน จาก วิทยาลัยเทคนิคพระนครศรีอยุธยา ได้มาปฏิบัติงานที่วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรีใกล้กับครอบครัวตนเอง ทำให้มีขวัญและกำลังใจดียิ่งขึ้นในการปฏิบัติหน้าที่ ลิงค์
7.4 พัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรอาชีวศึกษาสมรรถนะสูง
7.5 ส่งเสริมข้าราชการครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาให้มีวิทยฐานะและตำแหน่งทางวิชาการที่สูงขึ้น
5.โครงการพัฒนาศักยภาพครูสู่ครูมืออาชีพด้วยชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professionl Learning Community : PLC) วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรีได้พัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนรวมถึงพัฒนาศักยภาพครูสู่มืออาชีพ และสนองต่อจุดเน้นนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาโดยงานสอนสื่อการเรียนการสอนฝ่ายวิชาการ วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี ได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพครูสู่ครูมืออาชีพด้วยชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับความรู้ในการในการผลิตสื่อการเรียนการสอนในการพัฒนาผู้เรียนและสามารถพัฒนาศักยภาพของตนเองร่วมกับครูเพื่อนร่วมอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพตามวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้ เพื่อใช้ในการเลื่อนวิทยฐานะและตำแหน่งทางวิชาการที่สูงขึ้นต่อไป ลิงค์
7.6 ขับเคลื่อนและบริหารงานโดยยึดหลักธรรมาภิบาล (Good Govermance)
7.7 ป้องกันแะปราบปรามการทุจริตคอร์รับชั่นอย่างมีประสิทธิภาพ
7.8 นำระบบเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาใช้ในการบริหารจัดการ
7.9 ปรับปรุงกฎ ประกาศ ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง
8 เสริมสร้างภาพลักษณ์อาชีวศึกษายุคใหม่
8.1 เสรมสร้างสถานศึกษาอาชีวศึกษาแห่งความสุขและปลอดภัย
1.โครงการออกตรวจและป้องกันเหตุภายนอกสถานศึกษาเพื่อป้องกันเหตุทะเลาะวิวาทของนักเรียน นักศึกษา เพื่อติดตามสอดส่องดูแลพฤติกรรมของนักเรียนนักศึกษาขณะอยู่ภายในและภายนอกสถานศึกษา ป้องกันเหตุทะเลาะวิวาทระหว่างเดินทางมาเรียนและกลับบ้าน ไม่เกิดเหตุทะเลาะวิวาทระหว่างสถาบันของนักเรียนนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคมีนบุรีและสามารถติดตามพฤติกรรมของนักเรียนนักศึกษาได้ตลอดเวลา ลิงค์
8.2 ยกระดับการประชาสัมพันธ์และการสื่อสารองค์กร
2.วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี มอบหมายให้นายมาโนช มหารชพงษ์ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ พร้อมครูสาขาวิชาเทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล เข้าฟังการนำเสนอ ซอฟต์แวร์เกี่ยวกับBIGBOT AI รับฟังการนำเสนอซอฟต์แวร์เกี่ยวกับ BIGBOT AI เพื่อนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนในสาขาเทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัลและส่วนที่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี และร่วมพัฒนากันความร่วมมือและข้อตกลง (MOU) ในการใช้งาน BIGBOT AI BIGBOT AI คือ ผู้ให้บริการ Generative AI ด้านข้อความ ภาพ และ เสียง สร้างผลงานต่างๆ ด้วย "ปัญญาประดิษฐ์" สามารถนำไปใช้ประโยชน์ ในการทำงาน การประชาสัมพันธ์ และ การศึกษา ได้อย่างมากมายซึงจะเกิดผลดีในด้านต่างๆกับวิทยาลัย ลิงค์
8.3 เชิดชูเกียรติศิษย์เก่าดีเด่น / สร้างต้นแบบรุ่นพี่อาชีวะ (Senior idol)
3.เชิดชูเกียรติศิษย์เก่าดีเด่น ผู้ประสบความสำเร็จ วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรีได้ประชาสัมพันธ์ เชิดชูเกียรติศิษย์เก่าดีเด่น ผู้ประสบความสำเร็จ ดร.อรรถพล สังขวาสี เลขาธิการสภาการศึกษา วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรีได้ประชาสัมพันธ์ เชิดชูเกียรติศิษย์เก่าดีเด่น ผู้ประสบความสำเร็จ เพื่อให้เป็นต้นแบบในการสร้างแรงจูงใจในการเรียนของนักเรียนนักศึกษา และเป็นที่ประจักษ์แก่ประชาชน ลิงค์
8.4 ส่งเสริม Soft Power อาชีวศึกษา (1 วิทยาลัย 1 Soft Power/อัตลักษณ์)
4.การรับสมัครนักศึกษาฝึกงาน ทวิวุฒิไทย-จีน เพื่อเดินทางไปฝึกงานยังมณฑลเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน นายเสถียร อุตวัต ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี คณะผู้บริหาร พร้อมด้วยหัวหน้างานความร่วมมือ หัวหน้าแผนกวิชาเมคคาทรอนิกส์ หัวหน้าแผนกวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง และหัวหน้าแผนกวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์ ร่วมต้อนรับบริษัท Shanghai SAGE Intelligent จากสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการเยือนวิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี หารือการรับสมัครนักศึกษาฝึกงาน ทวิวุฒิไทย-จีน เพื่อเดินทางไปฝึกงานยังมณฑลเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี ได้ส่งเสริมนักเรียนนักศึกษาในการฝึกงาน ทวิวุฒิไทย-จีน เพื่อเดินทางไปฝึกงานยังมณฑลเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีนและอีกหลายๆแห่ง เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยน ภาษา วัฒนธรรม ประสบการณ์ในการเรียนและการทำงาน ลิงค์